Community Supporting Center for People with Dementia
About Ms. Chen, Ya-Min
Division Chief of Join Office for Dementia and Long-term Care Innovative e-Hospital
Script
สวัสดีทุกคน ฉันชื่อเฉินหยาหมิ่น หัวหน้าแผนกโรงพยาบาลย่อยสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและการดูแลระยะยาวโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนค่ะ
วันนี้รู้สึกยินดีมากที่จะได้แบ่งปันประสบการณ์จากศูนย์บริการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจริง
ก่อนอื่นขอพูดถึงโครงเนื้อหาที่จะพูดวันนี้ก่อน
หัวข้อแรกจุดเริ่มต้นโครงการ
หัวข้อที่สอง แนะนำสวนนึกจำของศูนย์บริการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมของโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน
หัวข้อที่สาม แนวทางปฏิบัติโครงการ
หัวข้อที่สี่ เนื้อหาปฏิบัติโครงการ
หัวข้อที่ห้า แผนบริการดูแลป้องกันและบรรเทาผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
หัวข้อสุดท้ายคือบริการนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุ
ฉันจะพูดถึงจุดเริ่มต้นของโครงการก่อนนะคะ
ตามผลการสำรวจพยาธิสภาพของโรคสมองเสื่อม
ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการได้ไหว้วานให้สมาคมผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไต้หวันจัดทำขึ้นระหว่างปี2011ถึงปี2013
อัตราผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทุกช่วงอายุ5ปีเป็นดังต่อไปนี้
อายุ65ถึง69ปี 3.40%
70ปีถึง74ปี 3.46%
75ปีถึง79ปี 7.19%
80ปี ถึง84ปี 13.03%
85ปีถึง89ปี 21.92%
มากกว่า90ปีขึ้นไปคือ36.88%
จากตารางข้อมูลนี้พวกเราจะเห็นได้ว่า
อายุยิ่งมากก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคมากขึ้น อีกทั้งทุกช่วงอายุ5ปี อัตราการเกิดก็เพิ่มขึ้นทวีคูณด้วย
ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยมาก CDR0.5แต้ม มี39.39%
ผู้ป่วยที่มีอาการน้อย CDR1แต้ม มี34.98%
สองกลุ่มนี้มีจำนวนมากที่สุด
รวมกันแล้วประมาณ75%
ในระดับความเสื่อมสมรรถภาพ
มี41.1%ไม่ได้เสื่อมสมรรถภาพเลย
เสื่อมสมรรถภาพเล็กน้อยมี15.2%
เสื่อมสมรรถภาพปานกลางมี12.1%
เสื่อมสมรรถภาพร้ายแรงมี31.6%
จากตารางพวกเราจะเห็นได้ว่า
ในองค์กรดูแลคนชรามีผู้ป่วย3.7%เป็นผู้ป่วยอาการเล็กน้อย
มีผู้ป่วยอาการปานกลาง7.1%
มีผู้ป่วยอาการหนัก12.0%
สามารถเห็นได้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่บ้าน
แล้วส่วนใหญ่ก็จะจ้างผู้ดูแลชาวต่างชาติมาดูแล
หรือไม่ได้ใช้บริการดูแลผู้สูงอายุอะไรเลย
มีหลายคนต้องเกษียณก่อนล่วงหน้าเพราะต้องไปดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
การออกจากงานหรือผลกระทบต่อสมรรถภาพการทำงาน
จะมีผลทางลบต่อการพัฒนาและการผลิตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ดังนั้นถ้าผู้ป่วยสามารถรับการรักษาได้แต่เนิ่นๆ
ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมยังสามารถอยู่ในบ้านหรือชุมชนที่คุ้นเคยได้
ก็สามารถชะลออาการของโรคสมองเสื่อมได้
อีกทั้งยังยกระดับคุณภาพชีวิตและลดต้นทุนในการดูแลได้
เพื่อทำให้การบริการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
ลดภาระของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมให้น้อยลง
ทำให้ครอบครัวของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทุกครอบครัวสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ง่าย
และสามารถใช้งานได้ด้วย
นอกจากนี้ยังเป็นการบริการที่รับภาระไหว
ดังนั้นตั้งแต่ปี2017 จุดสำคัญของแผนบริการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
ก็คือกระจายศูนย์บริการผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมให้มากขึ้น
จนคลอบคลุมทั่วชุมชนที่มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
บริการผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในไต้หวันสามารถแบ่งได้สองส่วน
แบบแรกคือศูนย์บริการโรคสมองเสื่อม
อีกแบบหนึ่งคือศูนย์ดูแลรวมผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
ศูนย์ดูแลรวมผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีแพลตฟอร์ม
ที่มีการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญ สอนความสามารถฟังพูดอ่านเขียนในชุมชนและเป็นศูนย์ช่วยเหลือ
ทางศูนย์จะจัดคอร์สสร้างเสริมสมรรถภาพรับรู้ ชะลอการเสื่อมสมรรถภาพ การดูแลความปลอดภัย
กลุ่มสนับสนุนครอบครัว คอร์สอบรมผู้ดูแลและบริการนวัตกรรม
ตัวฉันรับผิดชอบเชื่อมต่อพยาบาลผู้ประสานงานในแพลตฟอร์มดูแลรวมและในศูนย์ดูแล
ต่อไปฉันจะแนะนำสวนความจำหรรษาในศูนย์บริการผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมค่ะ
สวนความจำหรรษา เป็นศูนย์สาธิตที่พวกเราบริหารจัดการอยู่
ความหมายในภาษาจีนคือเป็นสวนหรรษาแห่งความจำ
จากรูปจะเห็นได้ว่าลานกิจกรรมกลางแจ้งและประตูใหญ่ของสวนความจำหรรษา
สวนความจำหรรษาก่อตั้งเมื่อวันที่2 กรกฎาคม 2018
เวลาทำการคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เช้า7โมงครึ่งถึง6โมงเย็น
รายการบริการมีสร้างสรรค์การรับรู้ ป้องกันและชะลอโรคสมองเสื่อม การรักษาความปลอดภัย
กลุ่มสนับสนุนครอบครัว คอร์สดูแลในครอบครัว และบริการนวัตกรรมใหม่
อุดมการณ์ของทางศูนย์คือให้คนของโรงพยาบางจางฮั่วดูแลคนของโรงพยาบาลจางฮั่วเอง
อีกส่วนหนึ่งก็คือดูแลชุมชนและกลุ่มคนอ่อนแอ
ส่วนนี้เป็นหนึ่งในทัศนคติและหน้าที่ของทางโรงพยาบาลด้วย
นี่คือกิจกรรมสร้างเสริมการรับรู้ แผนป้องกันและชะลอโรคสมองเสื่อม
นี่คือกิจกรรมรักษาความปลอดภัย
ช่วยระวังเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย เลี่ยงเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แล้วก็ทำกิจกรรมง่ายๆ
นี่คือกลุ่มสนับสนุนครอบครัว จัดคอร์สคลายเครียดโดยนักให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา
นักให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาก็คือหมอที่ดูแลผู้ป่วยของทางศูนย์นั่นเอง
นี่คือคอร์สดูแลในครอบครัว คนให้อบรมเป็นผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ดูแลรวมผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมของโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน
ยังมีนักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกร นักโภชนาการและนักดูแลเคสส่วนบุคคล
เดี๋ยวฉันจะเปิดคลิปให้ทุกคนดูก่อนนะคะ
คลิปนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจได้อย่างรวดเร็วว่า
หนึ่งวันในสวนความจำหรรษาทำกิจกรรมอะไรบ้างและมีคอร์สอะไรบ้าง
เมื่อผู้อาวุโสเข้ามา
พวกเราก็จะฆ่าเชื้อที่มือก่อน แล้วค่อยวัดความดัน วัดอุณหภูมิ จากนั้นให้เซ็นชื่อ
ตอนเช้าจะเป็นการออกกำลังกายเสริมสุขภาพ
แล้วให้ผู้สูงอายุอ่านข่าวของสัปดาห์ก่อนนิดหน่อย
มีนักศึกษามาฝึกงานที่นี่
ยังมีเด็กมัธยมปลายมาฝึกงานในช่วงปิดเทอมหน้าร้อนด้วย
ตอนเที่ยงกินข้าวกล่อง
นอนกลางวันที่นี่
ตื่นแล้วก็มาทำบริการยืดเส้นต่อ
นี่คือคอร์สดนตรีบำบัด
นี่คืองานแถลงข่าวเปิดตัว
นี่คืองานเลี้ยงขอบคุณผู้สูงอายุ
ต่อไปคือโครงสร้างองค์กรของทางศูนย์
ด้านบนจะมีผู้อำนวยการหนึ่งท่าน จากนั้นลงมาก็คือผู้บริหาร ถัดลงมาคือฉัน หัวหน้าแผนก
ด้านล่างมีเจ้าหน้าที่ดูแล เจ้าหน้าที่ผู้ช่วย อาสาสมัคร แล้วก็เพื่อนร่วมแพลตฟอร์มดูแลรวม
บางครั้งพวกเขาก็จะมาช่วยงานด้วย
พิเศษสุดก็คือมีผู้ดูแลจากหลายครอบครัวประทับใจในงานของพวกเรามาก
เลยอาสามาเป็นอาสาสมัครที่นี่
พวกเรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญหลายแขนง
ไม่ว่าจะเป็นหมอผู้เชี่ยวชาญ หมอยาจีน จิตแพทย์ นักโภชนาการ พยาบาล
นักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัดหรือนักบำบัดมืออาชีพ
ผู้ป่วยที่มาที่ศูนย์จะเป็นผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเป็นโรคสมองเสื่อม
ที่ผ่านการประเมินจากเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นMMSE AD8หรือBHTฯลฯ
ประเมินแล้วพบว่ามีแนวโน้มเป็นโรคสมองเสื่อม
อีกส่วนหนึ่งก็คือเป็นผู้ป่วยที่ผ่านการวินิจฉัย
และประเมินแน่ชัดแล้วว่าเป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่ผลCDRมากกว่า0.5แต้มขึ้นไป
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระดับน้อยมาก น้อย ปานกลางและร้ายแรง
เป็นผู้ป่วยที่โอนมาจากศูนย์ดูแลจัดการผู้สูงอายุและศูนย์ดูแลรวม
นี่คือระบบบริการดูแลผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อมของทางโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนค่ะ
พวกเราทำศูนย์ดูแลผู้สูงอายุตามซอย ศูนย์บริการผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยประจำวัน
ในชุมชนสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระดับน้อยมากถึงระดับปานกลาง
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในที่นี้เป็นผู้ป่วยที่ผ่านการวินิจฉัยจากศูนย์ดูแลรวมแล้ว
โอนจากศูนย์ดูแลผู้สูงอายุมาที่นี่
นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก
สามารถช่วยยืนยันประเภทโรคสมองเสื่อมของผู้ป่วย ระดับความร้ายแรงได้
ทำให้สามารถจัดคอร์สและกิจกรรมที่เหมาะสมตามระดับความร้ายแรงได้
เมื่อผู้ป่วยทุกคนเข้ามาแล้วก็จะได้รับการทดสอบเบื้องต้นก่อน กรอกข้อมูลพื้นฐานต่างๆ
นอกจากจะช่วยทำความเข้าใจระดับของโรคสมองเสื่อมและโรคเรื้อรังอื่นๆแล้ว
ยังสามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานการใช้ชีวิตและความสนใจของผู้ป่วย
มาใช้ออกแบบคอร์สในภายภาคหน้าได้
ต่อไปจะแนะนำจุดเด่นของทางศูนย์นะคะ
จุดแรกการออกแบบพื้นที่
จุดที่สองสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
จุดที่สามขั้นตอนมาตรฐานการรักษาฉุกเฉิน
จุดที่สี่คือขั้นตอนจัดการผู้ป่วย
จุดที่ห้าคือขั้นตอนมาตรฐานการควบคุมโรคระบาด
ก่อนอื่นเริ่มจากการออกแบบพื้นที่นะคะ
ตัวศูนย์สามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน
ส่วนแรกคือพื้นที่ทำกิจกรรม
อีกส่วนคือพื้นที่พักผ่อนตอนกลางวัน
ส่วนสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
ประกอบด้วยห้องน้ำปลอดสิ่งกีดขวาง
มีประตูควบคุมกันเดินหาย ต้องมีเจ้าหน้าที่มากดประตูถึงจะสามารถออกไปได้
ต่อไปคือพื้นที่เดินเล่น
ผู้สูงอายุบางท่านเข้าร่วมกิจกรรมแล้วแรงยังเหลือ
ก็จะให้เขามาเดินเล่นตรงนี้
ขั้นตอนมาตรฐานการรักษาฉุกเฉิน
ทีมรักษาพยาบาลสามารถให้ปฐมพยาบาลฉุกเฉินครบวงจรได้
ไม่ว่าจะเป็น การจัดการกรณีหมดสติ ขั้นตอนการส่งไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน
ทางศูนย์ก็ติดตั้งเครื่องมือช่วยชีวิตฉุกเฉินไว้ด้วย มีออกซิเจนและAMBU
ทางศูนย์ก็มีขั้นตอนการจัดการผู้ป่วย
พวกเราจะทำวิธีติดต่อหลายทางกับผู้ดูแลในครอบครัวและทีมแพทย์
ทางศูนย์ก็มีขั้นตอนการควบคุมโรคด้วย
อย่างวิกฤตโควิด-19ในครั้งนี้
พวกเราก็ส่งเสริมประชาสัมพันธ์การควบคุมโรค สอนวิธีล้างมือ วิธีใส่แมสให้ผู้สูงอายุ
ต่อมาคือส่วนที่สาม การวางแผนกิจกรรม
เป็นกลุ่มกิจกรรมที่ไม่ใช้ยาในการรักษา
เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถรักษาสมรรถภาพที่ดีที่สุดแม้ในภาวะโรคสมองเสื่อม
ชะลอการถดถอยของสมรรถภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขา
กลุ่มกิจกรรมจะแบ่งเป็นกลุ่มปิดเล็กๆ
ผู้นำกิจกรรมต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกมาแล้ว
หรือให้อาสาสมัครมานำกิจกรรมก็ได้
ทุกระดับจะตั้ง12สัปดาห์เป็น1ระดับ
ทุกระดับจะตั้ั้งตารางคอร์สกิจกรรมและแจ้งให้ครอบครอบและผู้สูงอายุทราบ
กิจกรรมทุกครั้งก็จะทำหนังสือแผนกิจกรรม จดจำนวนคนที่เข้าร่วม
จดขั้นตอนกิจกรรม หลังจัดกิจกรรมแล้วก็ต้องทบทวนผลด้วย
เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงให้กับการออกแบบคอร์สในอนาคต
ในส่วนการจัดตารางครอบครัว
ระหว่างทำกิจกรรมก็จะจัดพื้นที่ให้ครอบครัวพักหายใจและแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
แล้วก็ให้หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมให้แก่ครอบครัวด้วย
นี่คือตารางคอร์สเรียนและหนังสือวางแผนกิจกรรม
พวกเราจะเขียนแนวคิดในการออกแบบและวิธีปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออะไร
ก็จะเขียนไปในแผนกิจกรรมด้วย
ต่อไปฉันจะพูดถึงเนื้อการวางแผนกิจกรรม
เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจะออกแบบกลุ่มกิจกรรมโรคสมองเสื่อมตามผลการประเมินที่ได้รับ
ทุกสัปดาห์จะออกแบบกิจกรรมที่ขยับตัวและไม่ขยับตัว
ออกแบบกิจกรรมหลายๆแบบ
อย่างเช่น มีงานบรรยายที่นั่งเฉยๆ มีบางกิจกรรมที่ต้องขยับตัว
คอร์สวาดรูปพู่กันที่ต้องขยับตัว คอร์สดนตรีหรือคอร์สที่เล่นเกมตามเทศกาล
เป้าหมายหลักก็คือลดการเสื่อมสมรรถภาพของผู้ป่วย
ไม่ว่าจะเป็นมนุษยสัมพันธ์ สมรรถภาพการรับรู้และสมรรถภาพร่างกาย
และคาดหวังให้ผู้ป่วยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตามเวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้
พวกเราออกแบบคอร์สเรียนที่หลากหลาย
ได้แก่คอร์สเสริมการรับรู้ อย่างเช่น การทำงานศิลปะ ออกกำลังกายสมอง
และยังมีคอร์สที่เสริมสร้างร่างกาย เช่น คลาสออกกำลังกาย
แล้วก็มีคอร์สที่เสริมมนุษยสัมพันธ์ เช่น คลาสทำสวน คลาสดนตรี
ต่อไปฉันจะแนะนำให้ทุกคนฟังทีละคอร์สนะคะ
ก่อนอื่นขอแนะนำคอร์สเสริมการรับรู้ก่อน
กิจกรรมทุกประเภทที่เสริมสร้างการคิดรับรู้ก็เป็นประเภทนี้หมด
พวกเราจะให้ไพ่ ลูกเต๋า รูปภาพและของในชีวิตประจำวัน
หรือทำสื่อการสอนเอง โปสเตอร์
เอามาทำเป็นเกม ออกแบบเป็นกิจกรรมเสริมการรับรู้
ไม่ว่าจะเป็นเกมจิ๊กซอว์ เกมคำนวน เกมเสริมการคิดวิเคราะห์ กิจกรรมรักการอ่าน ฯลฯ
หลักๆคือช่วยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมให้ใช้สมอง ชะลอการถดถอยของสมรรถภาพ
นี่คือกิจกรรมให้ผู้ป่วยใช้แท่งไม้ที่สีและลักษณะไม่เหมือนกัน
ประกอบรูปร่างให้เหมือนกับรูปที่ให้ไป
แล้วก็สามารถประกอบรูปร่างที่ตัวอย่างประกอบได้ด้วย
พวกเราจะตั้งความยากง่ายของแต่ละคอร์สไม่เท่ากัน
ให้ผู้อาวุโสแต่ละระดับเล่นกัน
เดี๋ยวฉันจะเปิดคลิปการทำงานจริงให้ทุกท่านดูค่ะ
ต่อไปฉันจะแนะนำคลาสการสร้างสรรค์ทางศิลปะค่ะ
เป้าหมายคือให้ผู้ป่วยแสดงความรู้สึกผ่านผลงานศิลปะ
ใช้อุปกรณ์ศิลปะต่างๆ เช่น สีไม้ สีน้ำ ใบไม้ ขวดน้ำฯลฯ
มาทำงานศิลปะตามฤดูกาล เทศกาลหรือแรงบันดาลใจจากชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยสามารถวาด ลงสี ติดแปะและทำศิลปะทำมือ และวิธีอื่นๆ
กิจกรรมนี้ทำให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์
เกิดการกระตุ้นอวัยวะความรู้สึกต่างๆ
ทำให้ผู้ป่วยสามารถแสดงออกความคิดเห็น เพิ่มโอกาสแสดงออกของตัวเอง สร้างสรรค์และเพิ่มความรู้สึกสำเร็จ
นี่คือคาร์เนชั่นของเทศกาลวันแม่ค่ะ
พวกเรามาดูคลิปวีดีโอกันค่ะ
นี่คือภาพพิมพ์ใบไม้ที่ใช้สีน้ำค่ะ
ระหว่างที่ทำพวกเราจะแค่ให้กำลังใจให้ผู้ป่วยทำงานศิลปะเอง
พวกเราจะแค่ชี้นำผู้ป่วยเท่านั้น
ไม่เร่งผู้ป่วยให้ทำเร็วๆ
ต่อให้ผู้ป่วยทำได้ไม่ดีหรือทำไม่เสร็จ พวกเราก็จะชมให้กำลังใจผู้ป่วยค่ะ
ต่อมาขอแนะนำคลาสรำลึกความเก่า
เพราะผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมจะมีความทรงจำในอดีตที่ลึกซึ้ง
เพราะฉะนั้นพวกเราจะให้ผู้ป่วยรำลึกความหลังผ่านประสบการณ์ชีวิตในอดีต
ใช้รูปถ่ายเก่า ภาพเก่า ภาพยนตร์เก่าหรือกิจกรรมดั้งเดิมในอดีตมาเป็นตัวชี้นำ
ใช้การรำลึกความหลัง การแบ่งปันเรื่องราวมายืนยันคุณค่าของตัวเอง
การให้ผู้สูงอายุมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตในอดีตซึ่งกันและกัน
จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแสดงออกด้วย
ในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันก็จะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
เคารพประสบการณ์ชีวิตของซึ่งกันและกัน
ระหว่างทำกิจกรรมหากผู้ป่วยพูดผิด พวกเราก็จะไม่ขัดเข้าไปแก้
เพราะเป้าหมายหลักของเราก็คือให้ผู้สูงอายุแสดงออก ให้พูดออกมาค่ะ
ต่อมาจะขอแนะนำคลาสดนตรี
ดนตรีสามารถเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ ทำให้อารมณ์ดีขึ้นและชะลออาการโรคสมองเสื่อมได้
ปรบมือตามจังหวะง่ายๆหรือกิจกรรมเข้าจังหวะก็สามารถปลุกความทรงจำให้แก่ผู้ป่วย
อีกทั้งสามารถทำให้อารมณ์และการรับรู้ดีขึ้น สามารถลดอาการผิดปกติทางประสาทได้
พวกเราจะใช้วิธีทำกิจกรรม
โดยใช้การฟังดนตรี ร้องเพลงหรือโยกตัวตามจังหวะดนตรีและการเล่นเครื่องดนตรี
มาออกแบบเกมดนตรี อย่างเกมตีเคาะประกอบจังหวะ เป็นต้น
กิจกรรมแบบนี้จะสามารถกระตุ้นประสาทสัมผัสในการฟัง การดูและการสัมผัสของพวกเขาได้
และยังสามารถกระตุ้นการใช้เหตุผล การปรับอารมณ์และความร่วมมือระหว่างกันได้ด้วย
ต่อไปจะให้ทุกท่านดูสถานการณ์จริงในศูนย์ค่ะ
ต่อไปคือคลาสออกกำลังกายค่ะ
การออกกำลังกายสามารถเพื่อความกระฉับกระเฉงในข้อต่อ เพิ่มความอดทนของหัวใจ และเสริมสร้างพละกำลังและควมอดทนในกล้ามเนื้อได้
ทำให้ผู้ป่วยสามารถมีความสมดุล สมาธิและความจำที่ดีขึ้น
พวกเราจะจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับกำลังกายชุดหนึ่ง
อย่างเช่น แอโรบิกง่ายๆหรือออกกำลังเสริมสุขภาพ
ก็สามารถช่วยรักษาสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้ป่วยโรคสมองเสริมได้แล้ว
อีกทั้งยังเสริมสร้างกำลังกายและทำให้สุขภาพสมองของพวกเขาแข็งแรง
ในส่วนของอารมณ์
ก็สามารถทำให้พวกเขาอารมณ์ดี ไม่ซึมเศร้า ร่าเริงแจ่มใส
และเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์และความมั่นใจในตัวเองด้วย
ต่อไปมาดูวีดีโอตอนทำกิจกรรมจริงในศูนย์กันค่ะ
ทุกท่านช่วยสังเกตดูผู้สูงอายุเหล่านี้
เขาสามารถคิดท่าเต้นได้เอง ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสมาก
ต่อมาคือคลาสทำสวน
นี่เป็นวิธีหนึ่งในการทำพืชเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
สนุกสนานไปกับกิจกรรมผ่านความหวังและดอกผลที่งดงาม
ช่วยเยียวยาทางจิตใจให้แก่ผู้ป่วย
การสัมผัสกับต้นไม้ใบหญ้าช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
เมื่อคนอยู่ท่ามกลางพืชไม้นานาพันธุ์ กล้ามเนื้อก็จะผ่อนคลาย ความรู้สึกกลัวก็จะน้อยลง
ทุกท่านมาดูวีดีโอกันค่ะ
ปกติเราจะเลือกต้นไม้ที่ตายยากให้ผู้ป่วยปลูก
เพื่อเพิ่มความรู้สึกสำเร็จให้แก่ผู้ป่วย
ต่อมาจะแนะนำแผนบริการดูแลเพื่อป้องกันและชะลออาการเสื่อมสมรรถภาพค่ะ
แผนนี้เน้นจากฐานชุมชนเป็นหลัก
และจะจัดคลาสและแผนการดูที่เหมาะสมตามระดับของผู้ป่วยด้วย
เนื้อหาแผนการดูแลจะมีกิจกรรมเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เสริมสร้างความสามารถในชีวิตประจำวัน การมีปฏิสัมพันธ์ในชุมชน
การรักษาสำเนียงการพูด การดูแลโภชนาการและเสริมสร้างการรับรู้ เป็นต้น
และจะใช้แผนที่ใช้ได้จริงก่อน
ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจอนุมัติก่อน
จะใช้แผนการดูแลได้เมื่อได้รับการประกาศจากแพลตฟอร์มจัดการทรัพยากรบริการดูแลป้องกันและชะลออาการเสื่อมสมรรถภาพของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
หนึ่งคอร์สจะมี12สัปดาห์ หนึ่งครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ หนึ่งครั้งไม่เกินสองชั่วโมง
ผู้ป่วยที่เข้ารับการดูแลต้องไม่ซ้ำกัน
ผู้นำกิจกรรมของทุกครั้งต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการทดสอบแล้วเท่านั้น
ผู้นำกิจกรรมต้องผ่านการตรวจสอบและประกาศในเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแล้ว
นอกจากนี้สามารถเพิ่มผู้ช่วยได้ตามขนาดของคลาสได้ด้วย
นี่คือแพลตฟอร์มข้อมูลที่ได้มาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
ในเว็บต้องมีแผนดูแลและคุณสมบัติของผู้นำกิจกรรมทั้งหมด
ก่อนเข้ารับการดูแลก็ต้องทำการทดสอบก่อน
และต้องทำการทดสอบอีกครั้งหลังจากทำกิจกรรมแล้ว12สัปดาห์
นี่คือKihon Checklist
ข้อ1ถึงข้อ5จะเป็นคำถามเกี่ยวกับการใช้ชีวิตอย่างอิสระ
ข้อ6ถึงข้อ10จะเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
ข้อ11ถึง12เกี่ยวกับโภชนาการ
ข้อ13ถึง14เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
ข้อ15ถึง17เกี่ยวกับปากและฟัน
ข้อ18ถึง20เกี่ยวกับอาการความจำเสื่อม ความทรงจำต่างๆ
ข้อ21ถึง25เกี่ยวกับอาการซึมเศร้าและอารมณ์
ส่วนนี้จิตแพทย์เฉินเหม่ยกุ้ยน่าจะเคยอธิบายไว้แล้ว
เชิญทุกท่านดูวีดีโอนี้กันค่ะ
เป็นการออกแบบกิจกรรมโดยการใช้เกม เช่น การแข่งขันหรือกิจกรรมที่ต้องใช้การร่วมมือเป็นทีม
มากระตุ้นความยินยอมและความอยากเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ป่วย
ยังมีอีกวีดีโอค่ะ
อันนี้ใช้วัสดุข้างต้วที่หาใช้ง่าย
มาเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ความสมดุลและความยืดหยุ่นของแขนขาผู้ป่วยค่ะ
สุดท้ายนี้จะพูดถึงบริการนวัตกรรมดูแลผู้สูงอายุค่ะ
พวกเรามีบริการนวัตกรรมมากมาย
ได้แก่ คลาสอบรมผู้ดูแลชาวต่างชาติ การเข้าสังคมของผู้สูงอายุ ให้โอกาสฝึกงานแก่นักศึกษา
จัดค่ายประสบการณ์บริการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมระดับปานกลางและร้ายแรงและแผนบริการนวัตกรรมความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย
นี่คือคลาสอบรมผู้ดูแลชาวต่างชาติ
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไต้หวันกว่า30เปอร์เซนต์ได้รับการดูแลจากผู้ดูแลชาวต่างชาติ
ศูนย์ของเรายินดีต้อนรับผู้ดูแลชาวต่างชาติ
พวกเราได้ออกแบบแผนการสอนตามภาษาแม่ของผู้ดูแล สอนให้วิธีดูแลและเทคนิคให้พวกเขา
นี่คือภาพผู้สูงอายุเข้าร่วมการแข่งขันโชว์ผมหงอกค่ะ
สิ่งที่พวกเราเน้นย้ำคือการมีปฏิสัมพันธ์ในชุมชน
นี่คือกิจกรรมขอบคุณผู้สูงอายุ
สนับสนุนให้ผู้ดูแลและผู้สูงอายุมีความสุขร่วมกัน
การใช้ผู้ป่วยให้เข้าร่วมในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่พวกเราเน้นยำมาโดยตลอด
เพราะการใช้ชีวิตประจำวันก็เป็นกายภาพบำบัดประเภทหนึ่ง
กิจกรรมในชีวิตประจำวันสามารถเสริมสร้างความรับรู้และกำลังกายของผู้สูงอายุได้
ดังนั้นพวกเราจะให้ผู้สูงอายุมาช่วยทำความสะอาดศูนย์บริการหลังจากเลิกเรียนแล้ว
พวกเราก็ใช้นักศึกษาเอกการดูแลระยะยาวมาฝึกงานที่นี่
เปิดค่ายประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนให้กับนักเรียนมัธยมปลาย
ได้รับเสียงตอบรับจากนักเรียนและผู้ปกครองดีมาก
และยังมีกลุ่มอาสาสมัครคริสต์ซงเหนียนที่จะมาทำการแสดงเป็นประจำ
ทางศูนย์มีพื้นที่สำหรับเรียนรู้และการแสดง
และด้วยเหตุนี้เองทางศูนย์จึงมีชีวิตชีวามาก
นี่คือภาพนักศึกษาที่มาฝึกงานค่ะ
นักศึกษาเล่นกับผู้สูงอายุอย่างสนุกสนาน ทอยลูกเต้ากันว่าใครได้แต้มมากกว่า
อันนี้เป็นภาพค่ายประสบการณ์บริการดูแลผู้สูงอายุของเด็กมัธยมปลายค่ะ
นักเรียนต่างรู้สึกว่ากิจกรรมนี้มีความหมายมาก
พอกลับบ้านไปก็จะเอาใจใส่และดูแลอากงอาม่าของตัวเองมากขึ้น
และผู้สูงอาวุโสก็จะมีกำลังวังชามากขึ้นเพราะได้เจอเด็กๆด้วย
นอกจากนี้ทางศูนย์ก็มีความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมและมหาวิทยาลัย ทำวิจัยนวัตกรรมกับมหาวิทยาลัย
นี่คือคอร์สเพาะเห็ดค่ะ
คุณครูมาแนะนำวิธีเพาะเห็ด แล้วผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมและเพาะเห็ดได้จริงๆ
ทุกอาทิตย์กลับบ้านไปก็สามารถบันทึกได้ว่าเห็ดโตแค่ไหนแล้ว
ในเวลาเดียวกันทางศูนย์ก็สามารถวิเคราะห์
ผลกระทบต่อการรับรู้ อาการซึมเศร้าและอารมณ์ด้านบวกและลบของผู้สูงอายุได้
เชิญทุกท่านดูคลิปค่ะ
นอกจากนี้ทางศูนย์ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยครูจางฮั่วพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้น
ซอฟท์แวร์จะฉายรูปภาพเก่าผ่านจอโทรทัศน์
ช่วยผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมรำลึกความหลัง
แล้วพวกเราก็จะสังเกตดูว่าสมองได้รับการกระตุ้นไหมจากการทำกิจกรรมนี้
ผู้ป่วยดูรูปถ่ายเก่าแล้วเลือกหัวข้อที่สนใจ
อย่างเช่น เลือกของเล่นในวัยเด็ก แล้วให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องราวและพวกเราก็จะบันทึกเรื่องราวเหล่านั้น
เป้าหมายของแอพพลิเคชั่นนี้ก็คือทำให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาการรับรู้
รำลึกถึงความหลังและสร้างเสริมการรับรู้และการเรียนรู้ผ่านเกมรำลึกอดีต
นอกจากนี้พวกเรายังได้ร่วมมือกับแพทย์แผนจีนเปิดแผนบริการนวัตกรรมชะลออาการโรคสมองเสื่อมด้วย
ในอนาคตนายแพทย์หวงผู้อำนวยการแพทย์แผนจีนก็จะมาแนะนำแผนนี้ให้ทุกคนฟังค่ะ
ในช่วงหลายปีนี้ผู้สูงอายุในสวนความจำหรรษาทำให้พวกเราเห็นว่า
หลังจากที่ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมที่จัดให้แล้ว สมรรถภาพร่างกายของพวกเขาก็ค่อยๆดีขึ้น
เดิมทีเป็นผู้ป่วยที่นั่งเก้าอี้วีลแชร์ ตอนนี้ก็สามารถจับวีลแชร์เดินได้แล้ว
อัตราการเข้าร่วมกิจกรรมก็มากขึ้น
และสมาธิของพวกเขาก็ดีขึ้นด้วย
มนุษยสัมพันธ์ดีขึ้น การแสดงออก การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
และอารมณ์ก็ดีขึ้นหมด เสียงหัวเราะก็มากขึ้นด้วย
ครอบครัวก็บอกว่าอาการทางประสาทที่บ้านก็น้อยลงมาก
จากความพึงพอใจของคอร์สเรียนจะเห็นได้ว่า
ระดับความสนใจต่อกิจกรรมที่จัดของผู้สูงอายุในศูนย์
พอใจมากมีถึง78% พอใจมี18%
ศูนย์ของพวกเราได้กลายเป็นมาตรฐานของการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมแล้ว
มีหน่วยงานมากมายมาแลกเปลี่ยนความรู้กับทางศูนย์
หนึ่งในนั้นมีกลุ่มเจ้าหน้าที่จากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกที่มาแลกเปลี่ยนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
สุดท้ายช่วงสรุป
ปัจจุบันไม่มีวิธีรักษาโรคสมองเสื่อม
แต่ไม่มีวิธีรักษาไม่ได้แปลว่าไม่มีวิธีดูแลหรือวิธีบรรเทารักษา
พวกเราควรจะเน้นดูที่สมรรถภาพที่เหลือของผู้สูงอายุ
มากกว่าที่จะเน้นดูโรคภัยต่างๆที่เขามีอยู่
การออกกำลังกายเป็นวิธีชะลอและป้องกันโรคสมองเสื่อมที่ดีที่สุด
การมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันเป็นกิจกรรมที่ดีที่สุด
ขั้นตอนสำคัญกว่าผลลัพธ์
ถ้ามีสภาพแวดล้อมที่ไร้อุปสรรคหรือให้อุปกรณ์ช่วยที่ถูกต้อง
ก็สามารถลดอุปสรรคการเดินของผู้ป่วยได้
พอไม่มีอุปสรรคแล้วก็สามารถทำกิจกรรมอื่นๆได้มากขึ้น
ผู้สูงอายุต้องการกำลังใจมาก ต้องการความรู้สึกสำเร็จมาก
ที่สำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมของสมาชิกครอบครัวที่ดูแลเขา
ส่วนนี้มีความสำคัญต่อผู้สูงอายุมาก
เป้าหมายสุดท้ายของพวกเราก็คือให้ชราลงในบ้าน และเป็นการชราที่มีกำลังวังชา
ขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในงานดูแลผู้สูงอายุ
การบรรยายในวันนี้ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่านที่รับฟัง