Dementia Long-term Care Innovative Model: Taiwan's Experience

About Dr. Wang, Wen-Fu

Vice Superintendent, Lukang Christian Hospital & Evergreen Campus

Director of Dementia Center, Changhua Christian Hospital

Board of Director for the Taiwan Dementia Society

Board of Executive Director for the Changhua Dementia Association

Script


สวัสดีครับ ผมนายแพทย์หวังเหวินฝู่ จากโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียน

วันนี้รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่มีโอกาสมาแนะนำทุกท่านเรื่อง

โมเดลการดูแลระยะยาว และการดูแลระยะยาวต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมในไต้หวัน

การบรรยายวันนี้ เราจะนำเสนอหัวข้อดังต่อไปนี้

ข้อแรกผมจะขออธิบายโดยคร่าวๆ ต่อจากนั้นก็จะนำเสนอความสำเร็จบางส่วน

เกี่ยวกับโครงการการดูแลระยาว 2.0 ที่ไต้หวันกำลังดำเนินการ

สถานการณ์ปัจจุบันของการดูแลระยะยาวต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมของไต้หวัน

และโมเดลการดูแลระยะยาวต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมของไต้หวัน ของโรงพยาบาลจังฮว่าคริสเตียน

ก่อนอื่น ไต้หวันเริ่มเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย” ตั้งแต่ปี 2018

และจะเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ภายในปี 2026

สังคมที่ประชากรผู้สูงวัยมีมากกว่า 20% นี้ เป็นสถานการณ์ที่คล้ายกันกับประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัยตั้งแต่ปี 2005

ในปี 2021 ประชากรผู้สูงวัยก็จะมีมากกว่า 20% เช่นกัน เข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์”

แน่นอนว่า ชื่อเรียกของทั้งสองที่แม้จะไม่เหมือนกัน

แต่พวกเราต่างก็เผชิญกับปัญหาเรื่องความชราภาพเหมือนๆ กัน

ในไต้หวัน ยังมีปรากฏการณ์พิเศษอีกสองสามอย่าง

เรามาดูกราฟแท่งทางซ้ายมือ นี่คืออัตราการคลอดบุตรของคู่สามีภรรยายในไต้หวัน

อัตราการคลอดบุตรนี้ โดยเฉลี่ยในไต้หวัน สามีภรรยาคู่หนึ่งจะเลี้ยงดูบุตร 1.18 คน

จำนวนของสมาชิกทุกครอบครัวมีเพียง 2.77 คน

ในไต้หวันตอนนี้แทบจะเป็นโครงสร้างประชากรที่มีครอบครัวขนาดเล็กเป็นหลัก

โครงสร้างประชากรเช่นนี้จะทำให้แรงงานหนุ่มสาวน้อยลงเรื่อยๆ

ขณะที่ประชากรผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งยังขาดแคลนแรงงานผู้ดูแล

นี่คือตัวเลขสถิติปัจจุบันบางส่วนของไต้หวัน

ผู้สูงวัยราว 60% พักอาศัยอยู่กับลูกหลาน

ในส่วนอายุเฉลี่ยของคนไต้หวันอยู่ที่ 80.7 ปี แบ่งเป็นเพศชาย 77.5 ปี เพศหญิง 84 ปี

ประชากรอายุ 65 ปี ความจริงแล้วมีจำนวน 12-16% ที่ทุพพลภาพ

ในหมู่ประชากรผู้สูงวัย มี 8% ที่มีภาวะสมองเสื่อม

ไต้หวันเราเริ่มเล็งเห็นปัญหานี้ตั้งแต่ปี 2007

พวกเราจึงมี “โครงการการดูแลระยะยาว 1.0” และเริ่มตั้งแต่ปี 2017 พวกเราก็ดำเนินการ “โครงการการดูแลระยะยาว 2.0”

ผมคิดว่าที่ประเทศไทยก็มีสถานการณ์แบบเดียวกัน

พวกเราเห็นว่า มีการเล็งเห็นมาตั้งแต่ปี 2002 เร็วกว่าไต้หวันเสียอีก

ว่ามีปัญหาเรื่องความจำเป็นในการดูแลระยะยาวเช่นนี้

อีกทั้งในปี 2009,​ ปี 2018 ยังได้ทำการปรับปรุงแก้ไขที่มากว่า

ปัจจุบันในเรื่องการดูแลระยะยาว 2.0 ไต้หวันเรามีเรื่องสำคัญอยู่สองสามอย่าง

ข้อแรกคือพวกเรามีภารกิจ มีวิสัยทัศน์อย่างหนึ่ง

พวกเราอยากให้มันมีบุคคลเป็นศูนย์กลาง มีชุมชนเป็นฐาน

และมีการดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่วนเป้าหมายที่พวกเราต้องการบรรลุ

พวกเราอยากให้ญาติผู้ใหญ่ของเราได้ “ชราในถิ่นที่อยู่อาศัย”

พวกเราอยากสร้างระบบการดูแลระยะยาวที่เชื่อใจได้ เข้าถึงได้

ราคาย่อมเยาว์และมีคุณภาพการบริการที่ดี

พวกเรายังอยากต่อยอดไปข้างหน้า บรรลุวัตถุประสงค์การป้องกันและชะลอการทุพพลภาพ

ต่อยอดลงสู่ด้านล่าง ช่วยให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาล

ขณะจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลมีการเตรียมความพร้อม สามารถมีครอบครัวเป็นฐาน

จากนั้นรับการดูแลรักษาภายในบ้าน นี่คือประชากรเป้าหมายของการดูแลระยะยาว 2.0 ของไต้หวัน

พวกเราก่อนหน้านี้ ในการดูแลระยะยาว 1.0

ส่วนที่แตกต่างมากที่สุดกับ 2.0 หลักๆ ก็คือ

พวกเรามีการเพิ่มในส่วนของประชากรทุพพลภาพ

จาก 1.0 สู่ 2.0 พวกเรารับเอาผู้ทุพพลภาพอายุต่ำกว่า 49 ปีเข้ามาด้วย

อีกทั้งพวกเรายังรับเอาผู้มีภาวะเปราะบางหรือ Frailty เข้ามาเป็นเป้าหมายของการดูแลระยะยาว 2.0 ของเราด้วย

ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่อายุ 50 ปีขึ้นไป

พวกเราก็จะรับเข้ามาเป็นเป้าหมายในการดูแลระยะยาวแล้ว

ในอดีต ยุคการดูแลระยะยาว 1.0 ส่วนใหญ่จะเน้นการทุพพลภาพเป็นหลัก

แต่พวกเรารู้ว่า ญาติผู้ใหญ่ที่มีภาวะสมองเสื่อมจำนวนมาก

ความจริงเขายังเดินได้ เขาไม่มีปัญหาทุพพลภาพ

ดังนั้นใน 2.0 พวกเรารับเอาญาติผู้ใหญ่ที่มีภาวะสมองเสื่อมเข้ามา

แล้วในการดูแลระยะยาว 2.0 ไต้หวันได้สร้างโมเดลอย่างไรขึ้นมา

พวกเราจะมี Core Center หรือ Care Manager Center

ก็คือศูนย์จัดการดูแลผู้สูงอายุ โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุจะมีสายด่วนร่วมกันคือ 1966

ไม่ว่าจะเป็นใคร โทร.เข้าเบอร์นี้จากที่ไหน

มันจะต่อสายไปยังศูนย์การดูแลระยะยาวในเขตท้องที่

แล้วจากชุมชนล่ะ ในชุมชนพวกเราต้องการที่จะค้นหาตัวผู้ป่วยลักษณะนี้

พวกเราทำ Case Finding เพื่อการพบเจอตัวผู้ป่วยลักษณะนี้

จากนั้นพบตัวผู้ป่วยอะไร พบตัวผู้ป่วยที่ทุพพลภาพหรือมีภาวะสมองเสื่อม

ให้เราส่งต่อไปยังศูนย์ดูแลระยะยาวของเรา

และศูนย์ดูแลระยะยาวช่วยดำเนินการส่งต่อพวกเขาไปยังจุดให้บริการของชุมชน

ทางฝั่งโรงพยาบาลล่ะ ถ้าคนป่วยนี้เข้าโรงพยาบาล

ก่อนที่เขาจะออกจากโรงพยาบาล พวกเรามีสิ่งที่เรียกว่าบริการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยที่สมบูรณ์แบบ

ในบริการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยนี้ ทำให้เจอคนไข้ลักษณะนี้

จากนั้นช่วยดำเนินการให้เขาได้รับการดูแลรักษาภายในบ้าน

แน่นอนว่า ภายในกระบวนการเช่นนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือมีผู้บริหารจัดการเคสเฉพาะ

ผู้บริหารจัดการเคสเฉพาะคนนี้ และผู้ดูแลเฉพาะ

จะอยู่ที่โรงพยาบาลในชุมชน หรือในหน่วยงานราชการท้องถิ่นของเรา

พวกเขาจะรับผิดชอบจัดการกับความต้องการผู้ดูแลเคสเฉพาะนี้

รวมทั้งการประเมินระดับความทุพพลภาพของพวกเขา ช่วยเหลือการเชื่อมต่อบริการประเภทต่างๆ

และยังติดตามผลลัพธ์ของการบริการนี้เป็นระยะ

นี่ก็คือรูปแบบโมเดลทั้งหมดของการดูแลระยะยาว 2.0 ของไต้หวัน

เมื่อปีที่แล้วพวกเราได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนประเทศไทย และพวกเราก็ได้เห็นว่า

ความจริงพวกเราก็มีนโยบายแห่งชาติ ในนโยบายแห่งชาติของประเทศไทย

ความจริงส่วนสำคัญที่สุดคือมีชุมชนเป็นฐาน พวกเราเรียกว่า Area-based Units

ข้างในนี้ กำลังคนหลักในการดูแลนั้น

จะมีอาสาสมัครเป็นแกนหลัก อาสาสมัครเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ และมีสโมสรผู้สูงอายุจำนวนมาก

สิ่งที่เราเห็นความจริงแล้วไม่ค่อยเหมือนกับของไต้หวัน

สิ่งที่ควรค่าให้พวกเราเรียนรู้คือ ประเทศไทยรับเอาแนวทางการรักษาสุขภาพแบบไทยๆเข้ามา

ดังนั้นในชุมชนนี้จะสิ่งที่เรียกว่า Thai Health

ยังมีการรับเอาวัดและโรงเรียนเข้ามาด้วย

นี่เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม

ทำให้ทั้งชุมชน นอกจากหน่วยงานวิชาการ นอกจากโรงพยาบาล

ทุกคนในชุมชนนี้ขยับตัวพร้อมกัน ดำเนินการดูแลระยะยาวในรูปแบบชุมชน

ในการดูแลระยะยาว 2.0 ของไต้หวันนั้น

เราแบ่งการบริการชนิดต่างๆ ออกเป็น A, B, C 3 ระดับ

ส่วนของ A เราเรียกว่าศูนย์บูรณาการ

หน้าที่หลักของศูนย์บริการคือรับผิดชอบสิ่งที่เรียกว่า Care Plan

จัดทำแผนการดูแลเฉพาะรายบุคคล คนผู้นี้ต้องได้รับการดูแลอะไรบ้าง

รัฐบาลจะมีค่าใช้จ่ายให้เท่าไหร่เพื่อเข้ารับการบริการนี้

ส่วน B คือหน่วยบริการผสมผสาน

มีสิ่งที่เรียกว่าศูนย์ดูแลเฉพาะกลางวัน การบริการส่งอาหาร

ยังมีบริการรถรับส่ง บริการอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ

สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนของ B เป็นการบริการที่ค่อนข้างเฉพาะทาง

โดย A จะเป็นผู้จัดการว่าเคสเฉพาะรายนี้ ต้องเข้ารับบริการอะไรของ B บ้าง

ส่วน C นั้น หลักๆ แล้วจะมีสถานีประจำชุมชน ตรอกซอย

พวกเราอยากให้ภายในระยะทางเดินรถ 30 นาที

สามารถมีสถานีของ C ตั้งอยู่ 1 จุด

สถานีเช่นนี้ช่วยให้ญาติผู้ใหญ่ที่ทุพพลภาพหรือมีภาวะสมองเสื่อม

สามารถเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่างภายในพื้นที่ ไม่ต้องเดินทางไกล

ดังนั้น สรุปง่ายๆ การดูแลระยะยาวไต้หวัน A, B, C

A หลักๆ คือทำ Care Management คือภาคปฏิบัติของแผนการดูแล

ส่วน B หลักๆ คือให้บริการ Long-Term Care Services กับการดูแลระยะยาว

ให้บริการประเภทต่างๆ ตามจริงของแผนการดูแลระยะยาว

ส่วน C หลักๆ คือต้องการตั้งสถานีชุมชน

ให้เป็นสถานที่สำหรับชะลอการเกิดทุพพลภาพและภาวะสมองเสื่อม

เพื่อการนี้ ในไต้หวันเราได้ทำแผนที่อินเตอร์แอคทีฟขึ้นมา

นี่เป็นอินเตอร์แอคทีฟที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำขึ้น ดังนั้นสำหรับผู้คนนั้นง่ายมาก

เพียงงแค่เปิดแมปนี้ขึ้น ใช้ Google Map มา

รอบๆ บริเวณที่พักอาศัยของเขา

อย่างเช่นในรัศมี 1.5 กิโลเมตรของเราตรงนี้

เราจะมองหาจุด A, B, C ได้อย่างง่ายมาก

แม้กระทั่งหน่วยดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม

เขาก็จะไปขอรับบริการด้านต่างๆ ตามหน่วยบริการต่างๆ ได้อย่างสะดวก ง่ายดาย

ต่อจากนี้ผมจะนำเสนอทุกท่าน ถึงสถานการณ์ภาวะสมองเสื่อมในไต้หวัน

ปัญหาที่ต้องเผชิญเรื่องการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมในไต้หวันคือ ประชากรผู้สูงวัยของเรานับวันจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ

อัตราส่วนผู้มีภาวะสมองเสื่อม นี่คือการสำรวจที่เราทำไว้ก่อนปี 2013

พบว่าผู้มีอายุระหว่าง 65 ถึง 69 ปี มีประชากรผู้มีภาวะสมองเสื่อม 3.40%

แต่เมื่อถึงช่วงอายุ 80 ถึง 84 ปี มี 13.03%

อย่าลืมว่าอายุเฉลี่ยของคนไต้หวันเวลานี้มากกว่า 80 ปีแล้ว

ดังนั้นพวกเราพบว่า ผู้สูงวัยที่มีภาวะสมองเสื่อมในสังคมไต้หวันจะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

ระหว่างนั้น หากเราว่ากันตามระดับความรุนแรง

CDR หรือ Clinical Demencia Rating คือแบบประเมินระดับความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม

0.5 คือระดับเบามาก 1 คือระดับเบา 2 คือระดับปานกลาง 3 คือระดับรุนแรง

พวกเราพบว่า แท้ที่จริงแล้วผู้สูงวัยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงสมองบกพร่องระดับเบา

เคสสมองบกพร่องระดับเบาแท้ที่จริงแล้วมีราว 41%

ที่ไม่ได้ทุพพลภาพ ดังนั้นทุกท่านจึงเห็นได้ว่า

ทำไมในแผนการดูแลระยะยาว 2.0 ของไต้หวัน จึงรับเอาเคส ภาวะสมองเสื่อมเข้ามา

ถ้าเราใช้แนวคิดดั้งเดิมในอดีต

มีแต่ผู้สูงวัยที่ทุพพลภาพเท่านั้นจึงต้องการรับบริการการดูแลระยะยาวแล้วละก็

เคสผู้มีภาวะสมองเสื่อมจำนวนมากของเรา

ความจริงจะไม่สามารถได้รับบริการการดูแลระยะยาวเลย

แต่ผู้มีภาวะสมองเสื่อม พวกเขาต้องการการอนุบาลดูแลจริงๆ

พวกเรายังพบปัญหาที่น่าสนใจอีกอย่างคือ

ผู้สูงวัยที่สมองเสื่อมในไต้หวัน อัตราส่วนการได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านไม่ได้สูงมาก

อัตราการจ้างผู้อนุบาลชาวต่างชาติค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นระดับเบา ระดับปานกลางหรือระดับรุนแรง

ในสมัยปี 2013 ไต้หวันเราความจริงแทบไม่มีศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวัน

หรือหน่วยบริการชุมชนที่ให้ผู้สูงวัยที่สมองเสื่อมมาทำกิจกรรม

ดังนั้นผู้สูงวัยส่วนใหญ่

ผู้สูงวัยเกือบ 30% ได้รับการดูแลโดยผู้อนุบาลต่างชาติ

ทั้งนี้เป้าหมายของการดูแลระยะยาว 2.0เราคืออยากให้ “ชราในพื้นที่” “ชราในถิ่นที่อยู่อาศัย”

ย่อมต้องการให้เขาสามารถได้รับการดูแลระยะยาวที่ครบถ้วนสมบูรณ์ในบ้านตนเอง

ดังนั้นใน การดูแลระยะยาว 2.0 เราจึงได้นำเสนอ

หน่วยบริการการดูแลเฉพาะกลางวันประเภท Day Care จำนวนมาก

พวกเราอยากให้ผู้สูงวัยเหล่านี้มีโอกาสใกล้ชิดชุมชนที่มากขึ้น

ในด้านแผนการดูแลระยะยาว 2.0 รัฐบาลไต้หวันได้ออก

นโยบายและแผนปฏิบัติงานป้องกันและดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม 2.0 ฉบับหนึ่ง

ตั้งแต่ปี 2018 ถึงปี 2025 เป็นเวลาเกือบแปดปี

นี่เป็นนโยบายแห่งชาติ ในนโยบายนี้พวกเราได้กล่าวถึง

พวกเราอยากให้ในปี 2020 ก็คือปีนี้

พวกเราอยากให้ผู้ทำหน้าที่อนุบาลดูแลภายในครอบครัว 50%

ได้รับการสนับสนุนและอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมรายบุคคล

ผู้ป่วย 50% ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง ประชากร มากกว่า 5% มีความรู้ความเข้าใจ

พวกเรายังอยากให้ในปี 2025 ห้าปีต่อจากนี้ไต้หวันเป็นประเทศเป็นมิตรต่อผู้มีสมองเสื่อม 777

ให้ผู้อนุบาลดูแลภายในครอบครัวมากกว่า 70% ได้รับการสนับสนุนและการอบรมที่ถูกต้อง

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมากกว่า 70% ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง และประชากรทั่วประเทศมากกว่า 7% มีความรู้ความเข้าใจ

เช่นนี้แล้วเราเชื่อว่าเคสรายบุคคลส่วนใหญ่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยและดูแลอย่างถูกต้อง

ประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อภาวะสมองเสื่อม ประเทศนี้จะดีกว่าเดิม

เพื่อการนี้ กระทรวงอนามัยและสวัสดิการไต้หวันจึงเสนอโครงการดูแลภาวะสมองเสื่อมสี่ปีออกมา

โครงดูแลภาวะสมองเสื่อมนี้ เริ่มปี 2017

จากอัตราการตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม 30% ในตอนนั้น เพิ่มไปถึง 50%

อัตราความรู้ความเข้าใจในชุมชนเพิ่มไปถึง 5%

และเราจะขยายหน่วยบริการผู้มีภาวะสมองเสื่อมในชุมชนเพิ่มมากขึ้น

ทำให้ผู้สูงวัยเหล่านี้ ได้รับการชะลอการทุพพลภาพ ป้องกันและชะลอภาวะสมองเสื่อม

ทั้งยังอยากให้ผู้อนุบาลในครอบครัว ได้รับการช่วยเหลือ

เพื่อการนี้ แผนการดูแลระยะยาวภาวะสมองเสื่อม 2.0 ของเรา

พวกเราได้เสนอโมเดลนวัตกรรมการดูแลแบบใหม่ เรียกว่า EMC2 (อีเอ็มซี ทู)

ทุกท่านเห็นไหมครับว่า รูปนี้เป็นเหมือนกับผีเสื้อตัวหนึ่ง เป็นผีเสื้อกระดาษที่สวยมาก

ข้างในนี้เรามีด้วยกันสี่ด้าน พวกเราอยากมอบสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร Environment

เราอยากมอบการดูแลทางการแพทย์ที่สมบูรณ์แบบ Medical Care

และอยากมอบบริการบางอย่างแก่ผู้ประสานงานการดูแล Cordinator

ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ พวกเราอยากมอบการบริการครบวงจรแก่ผู้ให้การดูแล Care Giver

ข้างในนี้ ในส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรรวมถึงการส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องภาวะสมองเสื่อม

ชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม ไปจนถึงการดูแลความปลอดภัย

ให้ผู้สูงวัยที่มีภาวะสมองเสื่อมสามารถไปไหนมาไหน ทำกิจกรรมในชุมชนได้อย่างปลอดภัย

ในส่วนการดูแลทางการแพทย์ พวกเราต้องการสร้างระบบบริหารจัดการเคสรายบุคคลที่สมบูรณ์แบบ

สามารถติดตามเคสภาวะสมองเสื่อมรายบุคคลทั้งกระบวนการ ในส่วนโรงพยาบาลเรายังอยากสร้างโมเดลคลินิกความจำ (memory clinic) ที่สมบูรณ์แบบ

ช่วยเหลือวินิจฉัยและบำบัดรักษาเคสรายบุคคลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของผู้ดูแลในครอบครัว พวกเราอยากมอบแนวคิดการดูแลที่ครบถ้วนให้แก่ผู้ดูแลในครอบครัว

พวกเรายังอยากให้ผู้ดูแลในครอบครัวได้มีพื้นที่สำหรับพักหายใจ

ผู้ดูแลเคสภาวะสมองเสื่อมรายบุคคลในครอบครัว ความจริงแล้วเหน็ดเหนื่อยมาก

พวกเราอยากให้ญาติผู้ป่วยเหล่านี้มีพื้นที่สำหรับการให้กำลังใจกันและกัน และมีพื้นที่สำหรับพักหายใจ

ในส่วนของการดูแล ตั้งแต่บริการดูแลที่บ้าน การฟื้นฟูที่บ้าน

การดูแลเฉพาะกลางวัน จนถึงกลุ่มบ้านผู้มีภาวะสมองเสื่อม

แม้กระทั่งหน่วยงานที่บำบัดดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม

พวกเราต้องการสร้างรูปแบบการให้บริการผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบครบวงจร

ทำให้เคสภาวะสมองเสื่อมรายบุคคลที่มีระดับแตกต่างกัน ได้รับการดูแลที่ดีที่สุดในสถานที่แตกต่างกัน

นี่คือโมเดลนวัตกรรมการดูแลแบบใหม่ EMC2 ที่ไต้หวันเป็นผู้สร้างขึ้น

ส่วนพื้นที่ตรงกลาง ตรงตัวผีเสื้อ พวกเรายึดถือเคสรายบุคคล และผู้ดูแลเป็นศูนย์กลาง

นี่คือพื้นที่ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงทั้งสองฝ่าย

ถัดมาสิ่งที่ผมอยากนำเสนอต่อทุกท่านคือ ในจังหวัดจังฮว่า โรงพยาบาลของเราทำอะไรบ้าง

ก่อนอื่นผมขอแนะนำคร่าวๆ เกี่ยวกับโรงพยาบาลจังฮว่าคริสเตียน

พวกเราตั้งอยู่ในจังหวัดจังฮว่า ทุกท่านจะเห็นได้ว่า จังหวะจังฮว่าอยู่ตอนกลางของไต้หวัน

จังหวัดนี้มีประชากรเกือบ 1 ล้าน 2 แสน 8 หมื่นคน

ประชากรผู้สูงวัยของเรามีราว 14% นับเป็นจำนวนปานกลางในไต้หวัน

นี่คือโรงพยาบาลจังฮว่าคริสเตียน เป็นโรงพยาบาลเก่าแก่ที่มีอายุ 123 ปี

เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เพียงหนึ่งเดียวในเขตจังฮว่า

พวกเรามีโรงพยาบาลสาขา 7 แห่ง และยังให้บริการตามตำบลหมู่บ้านละแวกใกล้เคียง

เครือข่ายทั้งหมดของเรา ครอบคลุมการดูแลรักษาทางการแพทย์ในเขตจังฮว่าถึง 40%

อีกทั้งพวกเราให้บริการเคสภาวะสมองเสื่อมรายบุคคลในจังฮว่าถึง 60%

ดังนั้นพวกเราได้สร้างเครือข่ายการดูแลภาวะสมองเสื่อมที่ครบวงจร

ตั้งแต่ระดับเบาที่เรียกว่าโรงเรียนแห่งปัญญา

ซึ่งเป็นประเภทห้องเรียนส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ

จนถึงศูนย์บริการภาวะสมองเสื่อมระดับชุมชน สถานดูแลเฉพาะกลางวัน สถานพยาบาล

ยังมีห้องผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาล และคลินิกความจำของโรงพยาบาล

พวกเรานำเสนอบริการการดูแลครบวงจร

บริการการดูแลเช่นนี้เริ่มจากโรงพยาบาล ในการรักษาผู้ป่วยนอกเราให้บริการคลินิกความจำ

ส่วนห้องฉุกเฉินของเรามีช่องทางด่วนสีเขียว

ให้คนไข้ในเคสภาวะสมองเสื่อมเมื่อมาถึงโรงพยาบาล ได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน

ในส่วนห้องผู้ป่วยใน เรามีห้องพักผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

ขั้นตอนทั้งหมด เราจะมีผู้บริหารจัดการเคสรายบุคคล ทำการติดตามและบริการทั้งกระบวนการ

นี่คือมุมหนึ่งของห้องพักผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมของโรงพยาบาลเรา

พวกเราจัดเตรียมมุมพักผ่อนในรูปแบบร้านชำย้อนยุคของไต้หวัน

ให้ญาติผู้ใหญ่รู้สึกถึงบรรยากาศเก่าๆ เวลามาพักผ่อนตรงนี้

นี่คือโถงทางเดินห้องพักผู้ป่วย

บนโถงทางเดิน พวกเราติดใบปิดหนังยุคเก่าๆ เช่นนี้ไว้จำนวนมาก

โถงทางเดินของห้องทุกห้อง ให้ความรู้สึกย้อนอดีต

พวกเราถึงกับมีสิ่งที่เรียกว่าอุโมงค์เวลา

ในอุโมงค์เวลามีภาพถ่ายขาวดำจำนวนมาก

ทุกท่านจะเห็นว่า เหมือนอย่าง QR Code ภาพรูปถ่ายขาวดำนี้

เมื่อสแกนแล้วจะเห็นเรื่องราวของภาพถ่าย เรื่องราวของบุคคลในภาพ

นี่เป็นภาพถ่ายที่ญาติผู้ป่วยเป็นผู้มอบให้ จะเห็นเรื่องราวมากมายที่แตกต่างกันในนี้

ทำให้ได้ยินเสียงในอดีตมากมาย

ในโรงพยาบาลเรา ยังมีคลินิกความจำ

พวกเรารู้ว่าเคสผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ความจริงต้องมาตรวจวินิจฉัยที่โรงพยาบาล

แต่การมาตรวจวินิจฉัย ความจริงเป็นเรื่องที่ยากลำบาก บางครั้งผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าตัวเองป่วย ไม่อยากมาโรงพยาบาล

บางครั้งก็เป็นเพราะการตรวจเหล่านี้ต้องใช้เวลาที่นานมาก

ดังนั้นพวกเราจึงนำเสนอบริการการตรวจวินิจฉัยสองขั้นตอน

เมื่อมีเคสภาวะสมองเสื่อมเข้ามา ครั้งแรกพวกเราจะรีบทำการตรวจร่างกายในส่วนที่เกี่ยวข้องให้จบ

จากนั้นดำเนินการการตรวจโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

รวมทั้งการทดสอบทางจิตวิทยา รังสีวิทยา การตรวจเลือด

ในการเข้าตรวจรอบที่สอง คนไข้ก็จะผ่านการตรวจสอบทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว

รายงานทั้งหมดจะออกมาแล้ว

ครั้งนี้เราก็จะพูดคุยกับญาติผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วน

ในการเข้าตรวจรอบที่สองเราจะเตรียมระยะเวลาไว้หนึ่งถึงสองชั่วโมง

จะมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ เภสัชกรและผู้จัดการเคส

เข้าพูดคุยกับญาติผู้ป่วยอย่างครบสมบูรณ์ การทำอย่างนี้

จะช่วยให้ญาติผู้ป่วยมีความเข้าใจที่ครบถ้วน

พร้อมกับนำเสนอทิศทางการรักษาที่ครบถ้วนให้กับเคสเฉพาะของเรา

ต่อจากนั้น เราก็จะรับเข้าสู่ระบบบริหารจัดการเคสรายบุคคล ทำการติดตาม ดูแลระยะยาว

ตอนที่ผู้ป่วยรออยู่ที่คลินิกความจำ พวกเราได้สร้างระเบียงเดินชมที่สวยงามเอาไว้

เพื่อให้ผู้ป่วยที่รออยู่ด้านนอก ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเกินไป

สามารถเดินชมภายในบริเวณนี้อย่างปลอดภัย

โครงการนี้พวกเราตอบรับแผนดำเนินการสี่ปี

โครงการดูแลภาวะสมองเสื่อมโดยมีชุมชนเป็นฐาน 4.0

เพื่อโครงการนี้ ไต้หวันได้ก่อตั้งศูนย์บูรณาการการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม Integrated Center for Demencia Care (ICDC) อยู่ทั่วทุกที่

ศูนย์บูรณาการการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมนี้

ทุกๆ จังหวัดจะมีศูนย์กลางทางการแพทย์หนึ่งหรือสองแห่งเป็นหลัก

พวกเราให้บริการการดูแลระยะยาวและบริหารจัดการเคสภาวะสมองเสื่อมรูปแบบต่างๆ

นี่คือโมเดลของศูนย์บูรณาการการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม ICDC จังหวัดจังฮว่าเรา มีสองหลักใหญ่ด้วยกัน

หนึ่งคือการบริหารจัดการเคสภาวะสมองเสื่อม อีกหนึ่งเรียกว่าแพลตฟอร์มการดูแลภาวะสมองเสื่อม

ในส่วนบริหารจัดการเคส ขอให้เป็นเคสต้องสงสัยในชุมชน

เคสต้องสงสัยจากโรงพยาบาลชุมชน จะถูกส่งต่อมาที่ศูนย์บูรณาการฯ เรา

ในส่วนคลินิกความจำของเรา ที่คลินิกความจำของเรา

หลังจากดำเนินการตรวจคัดกรองสองขั้นตอนอย่างรวดเร็ว

ผู้จัดการเคสก็จะบริการให้คำปรึกษา บริการส่งต่อ และบริการให้ความรู้

แม้กระทั่ง ภายใต้ความเห็นชอบของญาติผู้ป่วย เราจะส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ต่อไปยังศูนย์ดูแลระยะยาวของรัฐบาลท้องถิ่น

ศูนย์ดูแลระยะยาวจะช่วยจัดการให้เคสรายบุคคลนี้ เข้ารับบริการการดูแลระยะยาวรายการต่างๆ ต่อไป

ในกระบวนการทั้งหมด รวมทั้งขั้นตอนการส่งต่อสองทาง

ผู้จัดการเคสเราจะให้บริการการดูแลที่ทันท่วงทีและครบกระบวนการ

นอกจากนี้ พวกเรายังสร้างแพลตฟอร์มการดูแลระยะยาวขึ้นในชุมชน

รวมทั้งโรงพยาบาลสาขาจำนวนมากของเรา เพราะพวกเราเป็นโรงพยาบาลคริสต์

พวกเรามีโบสถ์จำนวนมาก พวกเรายังร่วมมือกับภาครัฐบาลท้องถิ่นของชุมชน ร้านค้าชุมชนต่างๆ

พวกเราสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อภาวะสมองเสื่อม

นี่เป็นภาพถ่ายเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ปี 2017 การก่อตั้งศูนย์ดูแลร่วมผู้ภาวะสมองเสื่อมแห่งแรกในไต้หวัน

ความพิเศษของพวกเราคือ พวกเรามีผู้จัดการเคสรายบุคคลจำนวนมากถึงแปดคนด้วยกัน

ผู้จัดการเคสของเราจะให้เบอร์โทร.สายด่วนของพวกเขาไว้กับญาติผู้ป่วย

ในเวลาทำการ ญาติผู้ป่วยสามารถติดต่อหาตัวผู้จัดการเคสของพวกเขาได้ตลอด

เพื่อขอคำปรึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวกับการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม

ระบบสารสนเทศของเรา ยังได้ออกแบบระบบการบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยมมากให้อย่างหนึ่ง

ผมคิดว่า นี่คือแนวคิดที่สำคัญมาก

เมื่อไหร่ที่พวกเราต้องการติดตามเคสเฉพาะรายเคสนี้ พวกเราต้องการรู้สถานการณ์การรักษาของเขา

พวกเราต้องการรู้ประวัติการรักษาของเขา พวกเราต้องการรู้สภาวะทางการแพทย์ในแต่ละช่วงเวลาของเขา

ผมคิดว่าระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์แบบมีความสำคัญมาก ระบบสารสนเทศนี้

ช่วยให้พวกเราสามารถคัดกรองคนไข้ พวกเราสามารถค้นหาว่ามีเคสเฉพาะใดบ้างที่รับการตรวจวินิจฉัยแล้ว

แต่ยังไม่ได้เข้ารับบริการการดูแลภาวะสมองเสื่อมรายบุคคล

ทุกวันพวกเรายังสามารถทำรายการ

สถานะการเข้ารับการรักษาของคนไข้ภาวะสมองเสื่อมที่เป็นผู้ป่วยนอก

พวกเรายังสามารถค้นหาข้อมูลสถานการณ์คนไข้ภาวะสมองเสื่อมที่เป็นผู้ป่วยในเป็นรายบุคคล

นั่นจะช่วยให้ผู้จัดการเคส ติดตามทำความเข้าใจเคสเฉพาะราย

ในแต่ละช่วงเวลาได้สะดวกยิ่งขึ้น

ในระบบสารสนเทศของเรายังมีข้อมูลพื้นฐานของคนไข้

รวมถึงสภาวะทางร่างกายและจิตใจของคนไข้ในเวลาปัจจุบัน

เขามีปัญหาพฤติกรรมผิดปกติหรือไม่ ยังมีเรื่องปัญหาการใช้ยา

พวกเราถึงกับลงบันทึกไว้เรื่องผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมว่ามีภาระและความต้องการอะไรบ้าง

พวกเราพูดกันบ่อยๆ ว่าภาระและความต้องการของผู้ดูแล

แท้ที่จริงแล้วมีความเกี่ยวโยงกับอาการป่วยของคนไข้

ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีความสำคัญมาก ต่างต้องการการดูแล

หลังจากผ่านข้อมูลเหล่านี้ ระบบของเราจะนำเสนอแผนการดูแล

วางแผนการดูแลโดยอ้างอิงสภาวะทางกาย สภาวะทางใจของคนไข้

อีกทั้งทุกปี ระบบจะช่วยให้เราไปอัปเดต ไปตรวจสอบคนไข้คนนี้โดยอัตโนมัติ

ปัญหาที่เขาพบบ่อยในช่วงหนึ่งปีมานี้ จากนั้นช่วยเราจัดลำดับความสำคัญในการดูแลให้กับเขา

นอกจากทางฝั่งโรงพยาบาล ในส่วนงานดูแลระยะยาว ฝั่งชุมชน

ความจริงพวกเราได้สร้างสถานที่เอาไว้ค่อนข้างมาก

ทำให้เคสภาวะสมองเสื่อมรายบุคคล สามารถมาทำกิจกรรม

เพื่อชะลอการทุพพลภาพและภาวะสมองเสื่อมอย่างสบายใจ

นี่คือหนึ่งในโรงพยาบาลสาขาของเรา

นี่คือโรงพยาบาลสาขาแห่งหนึ่งของเรา ที่นี่พวกเราจัดตั้งหน่วยบริการภาวะสมองเสื่อมระดับชุมชน

เรารับเอาเคสรายบุคคลระดับเบามาก จัดห้องเรียนนำเสนอความรู้ความเข้าใจ

แก่ผู้ป่วย ห้องเรียนการดูแลสำหรับญาติผู้ป่วย และนำเสนอกลุ่มการดูแลสนับสนุนครอบครัว

เคสภาวะสมองเสื่อมบางรายหากไม่อยากมาตรวจโรคที่โรงพยาบาล

เราจะมีแพทย์ทำการ Home Visit คือการเยี่ยมเยียนที่บ้าน

อยากให้มีการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ให้ผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่ดีกว่า

ในระดับที่เบา ถึงเบามาก พวกเราจะให้บริการสิ่งที่เรียกว่าโรงเรียนแห่งปัญญา

ก็คือเราจะจัดการหลักสูตรวิชาบางอย่างให้ หลักสูตรพวกนี้

พวกเราเริ่มทำขึ้นตั้งแต่ปี 2008 แล้ว เรียกว่า School of Wisdom หรือโรงเรียนแห่งปัญญา

จนถึงปี 2015 พวกเราในตอนนี้ คือศูนย์การฝึกอบรมที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน

พวกเราคิดค้นหลักสูตรวิชาที่แตกต่างกันหกหลักสูตรวิชา เพื่อชะลออาการสมองเสื่อม

สำหรับภาคกลางกับภาคใต้ของไต้หวัน พวกเราเป็นศูนย์การอบรมเพียงแห่งเดียวในภาคกลางกับภาคใต้

พวกเราฝึกอบรมโรงเรียนแห่งปัญญาอื่นๆ อีกสามสิบกว่าแห่ง

นี่คือหลักสูตรต่างๆ ที่พวกเรามีให้ เรามีวิชาศิลปะ วิชาย้อนอดีต วิชาดนตรี

ยังมีวิชาบริหารสมองแนวใหม่ พวกเรายังมีวิชาการจัดสวน วิชากายบริหาร

แต่ละวิชามีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

แต่จุดประสงค์โดยรวมคือสามารถชะลอภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงวัย

ช่วยให้พวกเขารักษากำลังสมองได้ดีขึ้น

นอกจากหน่วยบริการของพวกเราแล้ว เรายังมีศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวันอีกด้วย

ศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวัน ให้บริการเคสรายบุคคลระดับเบาถึงปานกลาง

ศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวันเริ่มขึ้นปี 2013

จนถึงปัจจุบัน จังหวัดจังฮว่าเรามีศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวันที่ดูแลภาวะสมองเสื่อมล้วนๆ สามแห่งแล้ว

กิจการของศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวันไปได้ดีมาก รองประธานาธิบดีของเรายังมาเยี่ยมชมด้วยตนเอง

นี่คือศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวันภาวะสมองเสื่อมแห่งแรกของเรา โดยเลียนแบบไต้หวันยุคอดีตล้วน

ที่นี่จะใช้การออกแบบแนวย้อนอดีต

ส่วนศูนย์การดูแลเฉพาะกลางวันแห่งที่สองของเรา พวกเราใช้การออกแบบสมัยใหม่ทั้งหมด

ไม่ทราบว่าคุณผู้ชมที่ชมอยู่ จะชอบแบบย้อนยุคมากกว่า หรือแบบสมัยใหม่มากกว่า

ความจริงญาติผู้ใหญ่ต่างก็มีความชอบของตนเอง พวกเราจะทดลองรูปแบบต่างๆ

หลากหลายสไตล์ หลากหลายรูปแบบ

ให้ญาติผู้ใหญ่เราดูว่าชอบรูปแบบการดูแลลักษณะไหน

นี่คือสถานพยาบาลภาวะสมองเสื่อมของเรา ในสถานพยาบาล

พวกเราใช้เทคโนโลยีชั้นสูง กำหนดมาตรฐานการป้องกันและบำบัดรักษาอาการสับสนเฉียบพลันบางชนิด

เพื่อให้ผู้สูงวัยที่มีภาวะสมองเสื่อม หากเกิดอาการสับสนเฉียบพลันขึ้นมา

สามารถตรวจพบได้ในระยะขั้นต้น

เข้าสู่การบำบัดตั้งแต่ระยะขั้นต้น ในส่วนการดูแลทางด้านนี้

พวกเราก็ได้รับการรับรองจากรัฐบาลเช่นกัน

นอกจากในส่วนนี้ ผมคิดว่าสถานที่สำคัญยิ่งกว่า

นอกจากเรื่องการดูแลระยะยาว สิ่งสำคัญยิ่งกว่าอยู่ที่ชุมชน

ในชุมชนพวกเราจะทำการให้ความรู้เรื่องภาวะสมองเสื่อมในชุมชน พวกเราต้องการสร้างสภาพแวดล้อมชุมชนที่เป็นมิตร

ดังนั้นในจังหวัดจังฮว่า พวกเราผลักดันเรื่องหนังสือรับรองร้านค้าเป็นมิตรต่อชุมชนของจังฮว่า

ทำการอบรมอาสาสมัครจำนวนมาก และอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลจำนวนมาก

พวกเราติดฉลากเช่นนี้ไว้ที่หน้าร้านทุกร้าน

เราจะรู้ว่าร้านค้าแห่งนี้เป็นร้านค้าเป็นมิตร

ญาติผู้ใหญ่ที่มีภาวะสมองเสื่อมของเรา สามารถได้รับการดูแลที่สบายใจได้ที่นี่

ส่วนนี่คือการร่วมมือกันระหว่างเรากับหน่วยงานราชการ ร่วมมือกับเทศบาลเมืองจังฮว่า

ดังนั้นหน่วยงานราชการของจังฮว่าทั้งหมด รวมทั้งสถานีตำรวจ การประปา

ปั๊มน้ำมัน ร้านยาชุมชน คลินิกชุมชน

สถานีรถประจำทาง ร้านสะดวกซื้อ ร้านเสริมสวยจำนวนมาก

ล้วนเข้าร่วมโครงการร้านค้าเป็นมิตรต่อภาวะสมองเสื่อม

ทำให้ร้านค้าเหล่านี้เป็นร้านค้าที่เป็นมิตรต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม

หากญาติผู้ใหญ่ของเรามายังสถานที่เหล่านี้ ร้านค้าเหล่านี้

พนักงานภายในร้านพวกนี้จะรู้ดีว่า

เคสภาวะสมองเสื่อมรายบุคคล ต้องการความดูแลอะไร ต้องการความช่วยเหลืออะไร

ทำให้ญาติผู้ใหญ่เหล่านี้สามารถทำกิจกรรมในชุมชนได้อย่างปลอดภัย

พวกเราในฐานะโรงพยาบาลในศาสนจักร แน่นอน การผลักดันโบสถ์ที่เป็นมิตรก็เป็นภารกิจของพวกเราด้วย

ดังนั้นพวกเราดำเนินการการอบรมโบสถ์ที่เป็นมิตรเช่นนี้

พวกเราอยากให้สมาชิกของโบสถ์สามารถเป็นผู้เฝ้าประตูของภาวะสมองเสื่อม

เวลาที่จัดกิจกรรมชุมนุมขึ้นที่นี่ สามารถช่วยเหลือพวกเราค้นหาเคสผู้มีภาวะสมองเสื่อม

จากนั้นทำให้เคสเหล่านี้ได้รับการดูแลที่ดี

พวกเรายังจัดตั้งสมาคมโรคสมองเสื่อม Love Half-line แห่งจังฮว่า

Half-line หมายถึงเส้นแบ่งครึ่ง ทุกท่านคงทราบว่า

จังหวัดจังฮว่าอยู่ตรงกลางของไต้หวัน เป็นตำแหน่งของเส้นแบ่งครึ่งพอดี

ดังนั้นเราจึงตั้งชื่อสมาคมโรคสมองเสื่อมนี้ว่า สมาคมโรคสมองเสื่อม Love Half-line

ความจริงหน้าที่หลักของสมาคมนี้คือช่องทางการผ่อนคลายความเครียดของญาติผู้ป่วย

พวกเรามักจัดกิจกรรม ที่ให้ญาติผู้ป่วย ผู้ดูแลคนป่วยมาได้รับการผ่อนคลายที่นี่

ทำกายบริหารร่วมกัน ให้กำลังใจกันและกัน

ผมคิดว่านี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

สมาคมนี้ของเรายังมีเว็บไซต์ที่ยอดเยี่ยม นำเสนอคาบเรียนที่หลากหลาย

ยังมีกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคสมองเสื่อม และลิงก์ของทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

พวกเรายังวิจัยพัฒนาแผนการป้องกันการพลัดหลงรูปแบบต่างๆ

เพื่อให้ผู้ป่วยสมองเสื่อม ในยามพลัดหลงสามารถพบตัวได้เร็วที่สุด

ดังนั้น พวกเราเริ่มจากโรงพยาบาล ผสมผสานกับมูลนิธิ การดูแลระยะยาว

ผสมผสานกับชุมชน สมาคม สร้างเป็นโมเดลการดูแลครบวงจร

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ที่ไหน

ผู้จัดการเคสของเราก็จะติดตามไปถึงที่นั่น นี่คือแนวคิดที่สำคัญมากประการหนึ่ง

เบื้องหลังยังมีระบบสารสนเทศที่ยอดเยี่ยม

คอยบันทึกความต้องการแต่ละช่วงของตัวผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย และสถานการณ์ในแต่ละช่วง

พวกเราจึงจะติดตามเคสภาวะสมองเสื่อมรายบุคคลนี้ได้ครบกระบวนการ

นี่คือโลโก้ของสมาคมเรา นี่คือโรงพยาบาล

นี่คือมูลนิธิของเรา ช่วยเหลือเราสร้างหน่วยงานการดูแลระยะยาวที่แตกต่างกัน

นี่คือทีมงานของผม ในทีมของเรามีทั้ง

แพย์ประสาทวิทยา แพทย์จิตเวชผู้สูงอายุ แพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ พยาบาลเฉพาะทาง

ยังมีนักสังคมสงเคราะห์ นักโภชนาการ เภสัชกร ต้องมีทีมที่มีสมาชิกจำนวนมากระดับนี้

เราจึงจะสร้างโมเดลการดูแลภาวะสมองเสื่อมเช่นนี้ได้สำเร็จ

ขอบคุณครับ