Neuro-cognitive Screening Test for Dementia

About Ms. Chen, Mei-Kui

Clinical Psychologist, Changhua Christian Hospital

Clinical Psychologist of Dementia Center, Christian Changhua Hospital

Script

สวัสดีค่ะ ดิฉันเฉินเหม่ยกุ้ย จิตแพทย์จากโรงพยาบาลจางฮั่วคริสเตียนค่ะ

ดิฉันทำงานในแผนกประสาทมา10กว่าปีแล้ว

เคยมีประสบการณ์ทำงานกับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมมาก่อน

ตอนนี้ก็ทำงานอยู่ที่ศูนย์ดูแลรวมผู้ป่วยสมองเสื่อมของทางโรงพยาบาลค่ะ

เวลาส่วนใหญ่ดิฉันจะทำการประเมินภาวะสมองเสื่อม

หากมีผู้ป่วยวัยชราหรือวัยรุ่นที่มีภาวะสมองเสื่อม

ที่แพทย์วินิจฉัยว่าต้องดูอาการเพิ่มเติมอย่างละเอียด

ก็จะโอนผู้ป่วยมาให้ทางศูนย์ประเมินค่ะ

วันนี้ดิฉันจะแนะนำเครื่องมือตรวจสอบโรคสมองเสื่อม

ผ่านมุมมองเส้นประสาทการรับรู้

ก่อนที่จะพูดถึงเครื่องมือ

ดิฉันขอแนะนำบริการการตรวจประเมินทางประสาทจิตวิทยาที่ทางศูนย์ทำเป็นประจำก่อนนะคะ

และสิ่งที่ต้องระวังในการประเมินทางประสาทจิตวิทยาด้วย

หลังจากนั้นดิฉันจะแนะนำเครื่องมือตรวจสอบโรคสมองเสื่อมในชุมชน


ในส่วนของขั้นตอนการประเมิน

ในด้านประสาทจิตวิทยา

ดิฉันขอบอกกับทุกคนก่อนว่า

จุดสำคัญในการประเมิน

มีความเกี่ยวข้องกับความสามารถของสมองพวกเราเป็นอย่างมาก

มีความสามารถรับรู้มากมายที่พวกเราได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

หรือการทำงานระหว่างที่เราใช้ชีวิตอยู่

พวกเราไม่จำเป็นต้องมองเห็นหรือสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของมันเลย

แต่ว่าถ้าเกิดวันนี้พวกเราเป็นโรคนี้มา

แล้วดันเป็นโรคที่ทำลายความสามารถของสมองด้วย

พวกเราก็จะมีอาการที่จะสังเกตได้ในชีวิตประจำวัน

เช่น ไม่ค่อยมีสมาธิหรือความจำไม่ค่อยดี

ความสามารถทางภาษาอาจจะติดๆขัดๆ

อาการเหล่านี้มักจะปรากฎบ่อยในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับสมอง


พวกเราจะดูจากอาการของโรค

แล้วใช้ความรู้เกี่ยวกับประสาทจิตวิทยา

มาวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมหรือเส้นประสาทเสื่อมแบบไหน

บางทีอาจจะมีปัญหาที่เส้นประสาทรับรู้ก็ได้

แล้วเจาะดูที่ปัญหานั้นๆ

หลังจากนั้นก็ใช้ความรู้เกี่ยวกับโรคประสาท

มาประเมิน จำแนกและวินิจฉัยโรคจากอาการและปัญหาที่พบ

เพื่อที่จะช่วยงานบริการของพวกเรา

โดยเฉพาะแพทย์หรือหน่วยอื่นๆที่พวกเราจะพูดถึงกันในภายหลัง

ช่วยให้พวกเขาเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของเส้นประสาทหรือสมอง

เพราะฉะนั้นในขั้นตอนการประเมินทางจิตวิทยานั้น

ก็จะทำผ่านการสังเกตของตัวผู้ป่วยเองหรือญาติผู้ป่วย

หรือสิ่งที่เพื่อนผู้ป่วยเห็นก็ได้

ทั้งหมดสามารถอธิบายได้ว่าผู้ป่วยมีอาการอะไร


อย่างเช่น เมื่อกี้พูดถึงความจำไม่ค่อยดีหรือพูดจาติดๆขัดๆ

พวกเราก็จะใช้อาการนั้นมาตั้งสมมติฐานว่า

ผู้ป่วยอาจจะเป็นโรคอะไร แล้วมีอาการแบบนี้ขึ้นมา

เช่น เขาเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือเปล่า หรือเป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพหรือเปล่า

หรือผู้ป่วยมีภาวะบาดเจ็บในสมอง

อาจจะเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรถชนก็ได้

หรืออาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับน้ำในสมองหรือเส้นเลือดในสมองก็ได้

หลังจากที่ดูอาการของโรค การสังเกตของครอบครัว และสภาพโรคโดยรวมแล้ว

พวกเราจะเลือกเครื่องมือมาประเมินสมรรถภาพ

เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาในภายหลัง

ก่อนอื่น ในขั้นตอนพบผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วย

พวกเราจะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่ตัวผู้ป่วยสังเกตเห็นเอง

หรืออาการโรคที่ปรากฎขึ้น มีอะไรที่ไม่เหมือนกับเมื่อก่อน

แล้วมาดูว่ามีผลกระทบอะไรกับชีวิตประจำวันไหม


แล้วพวกเราก็จะมาดูระดับการศึกษาและประวัติการทำงาน

แล้วก็รวบรวมข้อมูลว่าปกติผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างไร

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

มีผลกระทบกับคนในครอบครัว

หรือหน้าที่การงานอย่างไรบ้าง

พวกเราก็จะสังเกตพฤติกรรมผู้ป่วยผ่านขั้นตอนการประเมินด้วย

ต่อมาพวกเราจะเลือกเครื่องมือประเมินที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

แล้วใช้เกณฑ์มาตรฐานมาประเมินผู้ป่วยก่อน

หากเป็นผู้ป่วยเส้นเลือดในสมอง

ที่มีปัญหาในการพูด การใช้ภาษา

การใช้เครื่องมือที่ต้องใช้ความสามารถทางภาษามาก

ก็จะทำให้ผลการประเมินผิดพลาดได้

เคสแบบนี้พวกเราจะใช้วิธีประเมินที่ยืดหยุ่นมาแทนที่การประเมินทางภาษา

แล้วทำความเข้าใจว่าสมรรถภาพด้านอื่นๆของผู้ป่วยยังปกติอยู่ไหม


ระหว่างขั้นตอนนี้ พวกเราจะพูดคุยและสังเกตผู้ป่วย

แล้วดูการตอบรับของสมรรถภาพต่างๆ

สุดท้ายพวกเราจะรวมข้อมูลทั้งหมด รวมถึงผลการตรวจของผู้ป่วย

จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์

และนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบปกติ

แล้วประเมินสรุปเป็นผลลัพธ์ออกมา

พวกเราจะนำผลลัพธ์ไปให้บุคคลอ้างอิง โดยปกติจะเป็นแพทย์

ให้แพทย์ทำความเข้าใจลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยว่าเป็นอย่างไร

ดังนั้นในขั้นตอนประเมินทางประสาทจิตวิทยา

พวกเราจะเขียนบรรยายสมรรถภาพที่อาจจะผิดปกติ

อาจจะเขียนบรรยายการตอบรับของสมรรรถนะที่ผู้ป่วยยังมีอยู่

การตอบรับหรือสมรรถภาพที่แสดงออกเหล่านั้น

พวกเราจะดูผลการเปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่คล้ายๆกับผู้ป่วย

ดูว่าในกลุ่มคนอายุเดียวกัน หรือคนอายุเดียวกันที่มีระดับการศึกษาพอๆกัน

ผู้ป่วยเทียบกับคนรุ่นเดียวกันแล้วพอๆกันหรือว่าแตกต่างกัน

หรือว่ามีสมรรถภาพอะไรที่ยังรักษาไว้ดีอยู่


อีกอย่างที่เมื่อกี้ดิฉันได้พูดถึง

ว่าต้องทำความเข้าใจระดับการศึกษาและประวัติการทำงานด้วย

เหตุผลหลักก็คืออยากเข้าใจลักษณะการทำงาน หรืออยากดูผู้ป่วยท่านนี้

ว่าเมื่ออยู่กับเพื่อนร่วมวัยเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม

จะมีปฏิกิริยาตอบสนองที่แตกต่างไหม

พวกเราจำเป็นต้องพิจารณาในจุดนี้ด้วย

นอกจากนี้สิ่งที่พวกเราต้องพิจารณาอีกอย่างคือความเปลี่ยนแปลงของตัวผู้ป่วย

ก็คือความเปลี่ยนแปลงเฉพาะบุคคล

ในอดีตเขาอาจจะแสดงออกได้อย่างดีเยี่ยม

ถึงแม้ว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตอนนี้ยังไม่อยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ

แต่ถ้าเปลี่ยนจากภาวะปกติไปมาก

พวกเราก็นับว่าเขาเกิดอาการผิดปกติขึ้น

เพราะฉะนั้นพวกเราจะเปรียบเทียบกับหลายชนชาติมาก


จากภาพนี้จะเห็นได้ว่า

ถ้าความสามารถส่วนใหญ่ของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ปกติ

เมื่อเทียบกับคนวัยเดียวกันหรือคนที่มีระดับการศึกษาเดียวกัน

ก็คือมีแค่ส่วนน้อยที่ความสามารถด้อยกว่าคนส่วนใหญ่

คนส่วนใหญ่ก็เหมือนกับทุกคนในที่นี้

ในทางการแพทย์มีวิธีการยืนยันก็คือ

ต้องเปรียบเทียบอย่างไรถึงจะรู้ว่าเราพอๆกับคนวัยเดียวกันหรือต่างกับคนวัยเดียวกัน

วิธีดูหลักๆก็คือดูขอบเขตมาตรการภายในกลุ่ม

พวกเรามีค่ามาตรฐานและค่าแตกต่างมาตรฐาน

พวกเราจะถือว่าผิดปกติเมื่อคะแนนประเมินได้ต่ำกว่ามาตรฐานสองขีด

แบบนั้นก็จะอยู่ในขอบเขตผิดปกติ

รูปแบบนี้จะใช้กับการเปรียบเทียบระหว่างบุคคล

ก็คือเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อนร่วมวัย หรือคนที่มีระดับการศึกษาใกล้เคียงกัน

ก็จะใช้วิธีนี้มาเปรียบเทียบ


แต่พวกเราก็ต้องคำนึงด้วยว่า

ระหว่างที่พวกเราแก่ตัวลง

สมรรถภาพบางอย่างก็จะเสื่อมถอยตามไปด้วย

เป็นขั้นตอนเสื่อมสมรรถภาพอย่างต่อเนื่อง

จนพวกเรารู้สึกได้เองว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น

อย่างเช่น ทุกคนดูที่ด้านซ้ายของสไลด์ค่ะ

เป็นสมรรถภาพความจำเพื่อใช้ปฎิบัติงาน

สมรรถภาพความจำเพื่อใช้ปฎิบัติงานจะเริ่มเสื่อมลงตั้งแต่อายุ20ปีขึ้นไป

ถ้าตอนนี้ฉันอายุ60ปี แล้วเทียบกับตัวเองตอนอายุ20ปี

สมรรถภาพก็ย่อมเสื่อมถอยไปบ้างแล้ว


พวกเรามาดูความจำเพื่อใช้ปฎิบัติงานนี้กันหน่อย

ระหว่างอายุ70ถึงอายุ80

สมรรถภาพจะเสื่อมถอยเร็วมาก

ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมาบอกพวกเราว่าเขาจำอะไรไม่ได้

อาจจะเป็นเพราะว่า

สมรรถภาพของเขาเสื่อมลงตามอายุจนเห็นอาการได้ชัดแล้ว

นี่คือความหมายของการเปรียบเทียบระดับบุคคลกับตัวเอง

พวกเรามาดูความเร็วในการจัดการทางด้านขวากัน

ความเร็วในการจัดการจะเสื่อมลง

ตามอายุที่มากขึ้น

ปกติตอนที่พวกเราพบความเปลี่ยนแปลงเชิงสมรรถภาพ

ระดับความเสื่อมที่พบจะค่อนข้างชัดเจน

ประมาณลดต่ำเหลือ1จากZแต้ม

ก็จะรู้สึกถึงภาวะสมรรถภาพเสื่อมได้


สมมติว่าตอนนี้พวกเราอายุ50ปี เมื่อเทียบกับตัวเองตอนอายุ20ปี

ก็จะรู้สึกได้เองว่า ความเร็วในการจัดการสิ่งต่างๆลดลงมาก รู้สึกได้ว่าแตกต่างกับตอนเด็กมาก

เพราะฉะนั้นในส่วนนี้

เมื่อผู้ป่วยบ่นว่าความสามารถของเขาหรือความจำของเขาแย่ลง

พวกเราก็ต้องพิจารณาถึงเรื่องนี้ด้วย

ดังนั้นพวกเราขอแนะนำว่าข้อมูลบางอย่างก็จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับคนในวัยเดียวกันด้วย

สิ่งที่พวกเราเห็นได้จากจุดนี้คือ

ความเสื่อมสมรรถภาพแต่ละประเภทจะมีส่วนที่ไม่ค่อยเหมือนกันอยู่

อย่างเช่น สมรรถภาพในการคำนวณ หรือสมรรถภาพในการจัดการข้อมูล

จะถึงจุดสูงสุดในช่วงอายุ40,50ปี โดยเฉพาะสมรรถภาพทางภาษา

เพราะฉะนั้นจะมีสมรรถภาพบางอย่างที่สะสมเพิ่มเติม

เชี่ยวชาญมากขึ้นตามวัยที่มากขึ้น

แต่หลังจากพ้นจุดพีคแล้ว สมรรถภาพเหล่านั้นก็จะค่อยๆเสื่อมลงไป

เพียงแต่เวลาเสื่อมของสมรรถภาพแต่ละประเภทจะไม่เท่ากัน


เมื่อพวกเราเข้าใจแนวคิดนี้แล้ว

ค่อยไปประเมินสมรรถภาพผู้ป่วยโดยรวมอีกครั้ง

พวกเราก็จะเข้าใจชัดเจนว่า

ผู้ป่วยเสื่อมสมรรถภาพตามวัยที่เพิ่มขึ้น

หรือเมื่อเทียบกับคนวัยเดียวกันหรือเพื่อนร่วมวัยแล้ว

สมรรถภาพของผู้ป่วยเสื่อมมากกว่าเพื่อน

ตรงนี้เป็นจุดที่พวกเราต้องระวังมากๆ

ดิฉันขอเตือนทุกคนในที่นี้ว่า

เครื่องมือทุกอย่างมีขีดจำกัดการทดสอบทั้งนั้น

เครื่องมือประเมินบางชิ้นก็มีอายุการใช้งานของมัน ความสามารถประเมินของมันก็จะน้อยลง

หากปล่อยไปเครื่องมือจะประเมินได้แค่สมรรถภาพคร่าวๆ ไม่สามารถประเมินเชิงลึกได้

ดังนั้นพวกเราก็จะมีเครื่องมือสำหรับประสาทการรับรู้

ที่มีการพัฒนาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

เครื่องมือนี้สามารถช่วยให้พวกเราเข้าใจผู้สูงอายุได้ว่ายังเหลือสมรรถภาพอะไรอยู่บ้าง

เพราะฉะนั้นในขั้นตอนการประเมิน

พวกเราต้องทำผลการประเมินส่งต่อไปให้หลายคน


ผู้ป่วยหนึ่งท่าน

จะประเมินสมรรถภาพตัวเองได้ถูกต้องหรือไม่

บางทีก็อาจจะเหมือนที่ผู้ป่วยรู้สึก

สมรรถภาพได้เสื่อมลงจริงๆ

แต่ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเขาคิดว่าสมรรถภาพตัวเองแย่ลง

แต่ที่จริงเมื่อเทียบกับเพื่อนวัยเดียวกัน

ก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น หรือยังอยู่ในขอบเขตปกติอยู่

เป็นการเสื่อมสมรรถภาพปกติ

กรณีที่สองพวกเราจะเตือนผู้ป่วยว่า

ต้องประเมินสมรรถภาพตัวเองให้ถูกต้อง


นอกจากนี้พวกเราจะส่งผลการประเมินไปให้ผู้ดูแลด้วย

เพื่อให้ผู้ดูแลรู้ว่าผู้ป่วยท่านนี้มีอาการแบบนี้

จะต้องดูแลเพิ่มเติมตรงไหนในชีวิตประจำวัน

แล้วเราต้องใส่ใจด้านไหนบ้าง

มีวิธีช่วยเหลือการเสื่อมสมรรถภาพในชีวิตประจำวันอะไรบ้างไหม

ช่วยชดเชยเงินหรือให้ความช่วยเหลือ หรือทำกายภาพบำบัด

ให้กับภาวะเสื่อมสมรรถภาพ

เพื่อให้สมรรถภาพของผู้ป่วยคงอยู่ต่อไป

พวกเราก็จะนำผลประเมินนี้ส่งต่อให้บุคลากรทางการแพทย์

รวมถึงเจ้าหน้าที่ดูแลในองค์กร

หากมีความจำเป็น

พวกเราก็จะแจ้งพวกเขา

ว่าผู้ป่วยท่านนี้ตอนนี้มีอาการอะไรบ้าง

ถ้าพวกเขามีคำถามอะไรเกี่ยวกับการดูแล

ก็สามารถมาคุยกับพวกเราได้


กรณีที่เจอไม่บ่อยแต่ก็เจอก็คือองค์กรกฎหมาย

อย่างเรื่องผู้สูญเสียความสามารถ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างๆ

โดยเฉพาะหลังเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แล้วต้องชดเชยค่าเสียหาย

ผลประเมินประสาทจิตวิทยาของพวกเรา

จะช่วยให้องค์กรกฎหมายดำเนินการเรื่องพวกนี้ได้


เรื่องต่อไปที่จะคุยกันก็คือประเภทของการรับรู้

ในประเภทความผิดปกติความสามารถสมองDSM5ของพวกเรา

ได้พูดถึงผลกระทบด้านการรับรู้หลายข้อ

ข้อแรกคือความใส่ใจแบบซับซ้อน

ตอนที่พวกเราต้องทำอะไรหลายๆอย่างพร้อมกัน

พวกเราก็สามารถทำเรื่องต่างๆให้เสร็จเรียบร้อยได้ในเวลาอันรวดเร็ว

หรือสามารถจัดอันดับได้ว่าเรื่องไหนต้องทำก่อน

เรื่องไหนต้องทำทีหลัง

เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพความใส่ใจแบบซับซ้อน

เป็นสมรรถภาพที่มีความสำคัญมากในชีวิตของพวกเรา


สมรรถภาพนี้ได้รับผลกระทบง่ายมาก

อย่างเช่น ผลกระทบจากปัญหาการนอน การดื่มสุรา หรืออารมณ์ต่างๆ

ต่างสามารถส่งผลกระทบถึงสมรรถภาพนี้ได้

พวกเรามาดูเรื่องสมรรถภาพการเรียนและการจำ

ในหมวดหมู่ภาวะสมองเสื่อมของเรา

จะใส่ใจกับความเสื่อมของสมรรถภาพนี้เป็นพิเศษ

พวกเราจะสังเกตผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นพิเศษว่า

จำอะไรไม่ค่อยได้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ลำบากไหม

แต่สิ่งที่ผู้ป่วยจัดการอย่างคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

อาจจะไม่ได้ส่งผลอะไรมาก


ในส่วนนี้บางครั้งพวกเราจำเป็นต้อง

เปรียบเทียบการทดสอบประสาทจิตวิทยาการรับรู้อย่างละเอียด แล้วประเมินผลออกมา

นอกจากนี้ยังมีอีกส่วนที่เรียกว่าสมรรถภาพในการจัดการ

สมรรถภาพในการจัดการเกี่ยวข้องกับความสามารถอื่นๆที่ซับซ้อน

ที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน เช่น ความสามารถในการตัดสินใจ

ตัดสินใจว่าต่อไปต้องทำอะไรต่อ

รวมถึงตัดสินใจว่าเรื่องไหนยังไม่ต้องทำชั่วคราว

หรือเรื่องไหนที่ต้องอดทนไปก่อน

การตัดสินใจข้างต้นเกี่ยวข้องกับสมรรถภาพในการจัดการทั้งหมด


อีกส่วนหนึ่งก็คือสมรรถภาพทางภาษา

โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน

พวกเราจำเป็นต้องใช้ภาษาในการสื่อสาร

ต้องสื่อสารออกไปได้และต้องเข้าใจว่าคนอื่นกำลังพูดอะไรอยู่

ดังนั้นสมรรถภาพนี้เป็นสมรรถภาพในการแสดงออกที่สำคัญมาก

ส่วนต่อไปคือความเร็วในการรับรู้และจัดการเรื่องราวต่างๆ

ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเรา

ไม่ว่าจะเป็นการทำงานก็ดี งานบ้านก็ดี

สุดท้ายคือสมรรถภาพการรับรู้ทางสังคม

สมรรถภาพการรับรู้ทางสังคมสามารถแบ่งได้สองชั้น

ชั้นหนึ่งคืออารมณ์ คือความรู้สึก อีกชั้นคือมนุษยสัมพันธ์


ในชั้นอารมณ์ของสมรรถภาพการรับรู้ทางสังคม

จะเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เข้ากับสถานการณ์

อย่างเช่น อยู่ในสถานการณ์ที่เศร้าโศก หรือสถานการณ์ที่หดหู่

แต่มีคนหัวเราะโพล่งขึ้นมา ทำให้คนอื่นรู้สึกแปลกใจ

เป็นพฤติกรรมที่ดูเหมือนจะไม่รู้กาลเทศะเอาซะเลย

ส่วนนี้จะมีความเกี่ยวข้องสมรรถภาพการรับรู้ทางสังคม

มีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษยสัมพันธ์เป็นอย่างมาก

สมรรถภาพการรับรู้เหล่านี้ถ้ามีความเสียหายแค่เพียงชั้นเดียว

ก็จะส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันทันที

ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม

สมรรถภาพโดยรวมทั้งหมดของเขาอาจจะถดถอยลง


ในช่วงแรกของเขา

อาจจะเป็นสมรรถภาพเล็กๆบางอย่างที่ถดถอยไป

เพราะตอนนี้พวกเรากำลังพูดถึงผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อม

ดังนั้นดิฉันจะเน้นไปที่การประเมินความสามารถในการจำ

เป็นขั้นตอนการประเมินที่เน้นความสามารถในการจำและการเรียนรู้

ก่อนอื่นดิฉันขออธิบายกลไกการทำงานของความจำสักหน่อย

ทุกคนถึงจะเข้าใจว่าทำไมการประเมินนี้ถึงมีความสำคัญ

เพราะว่าก่อนที่จะจำ

สมรรถภาพที่พวกเราต้องการก็คือสมาธิ

พวกเราต้องสังเกตถึงข้อมูลหรือสิ่งของนั้นๆก่อน

ถึงจะสามารถจำข้อมูลหรือสิ่งของนั้นๆไว้ในสมองได้

ข้ั้นตอนเก็บความทรงจำนี้ก็ต้องมีกลไกดึงออกมาใช้

ถึงจะทำให้คนอื่นรู้ว่าพวกเราจำอะไรไปแล้วบ้าง


ดังนั้นในขั้นตอนประเมิน

ตอนที่พวกเราประเมินความสามารถในการจำ

พวกเราจะประเมินสมาธิของผู้ป่วยก่อน

เพราะส่วนนี้จะส่งผลกระทบต่อความจำมาก

ถ้าผู้สูงอายุทำเรื่องอะไรก็ตามในชีวิตประจำวัน

แล้วไม่มีสมาธิ หรือไม่ได้ตั้งใจทำเรื่องนั้นละก็

เขาก็จะจำไม่ได้

ดังนั้นสมาธิเป็นสิ่งที่เราต้องประเมินก่อนเป็นอันดับแรก

ต่อไปดิฉันจะพูดถึงเครื่องมือตรวจสอบ

พวกเราต้องสังเกตว่าสมาธิของผู้ป่วยอยู่กับปัจจุบันหรือไม่

ผู้ป่วยต้องมีสมาธิ ผลประเมินในอนาคตถึงจะมีความหมาย

ต่อไปดิฉันจะบรรยายเรื่องเครื่องมือตรวจสอบให้ทุกคนฟัง

เป็นเครื่องมือที่พวกเราจะใช้บ่อย

ในขั้นตอนการดูแลระยะยาว


ก่อนอื่นพวกเราต้องไปเข้าใจภาวะความจำและ

ความสามารถในชีวิตประจำวันในชุมชนหรือในตัวผู้ป่วยก่อน

ถ้าพวกเรารู้สึกว่าเขามีแนวโน้มเสื่อมสมรรถภาพ

ก็คือต้องการรักษาโรคสมองเสื่อมในภายหลังล่ะก็

พวกเราก็จะประเมินโรคอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

ดังนั้นในด้านเครื่องมือตรวจสอบ

พวกเราจะแนะนำเครื่องมือสองสามชิ้นตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

นี่่คือเครื่องมือตรวจสอบที่ใช้บ่อยในไต้หวัน

อันแรกที่จะกล่าวถึงคือAD8

มีหลายประเทศบนโลกใช้AD8อยู่

เครื่องมือนี้แบ่งออกได้หลายรูปแบบ

หลักๆคือตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงทางสมรรถภาพในชีวิตประจำวันของผู้ป่วย


วิธีประเมินหลักก็คือเปรียบเทียบตัวเองกับตัวเอง

ว่ามีสมรรถภาพด้านไหนที่ถดถอยลงบ้าง

ถ้าพวกเราสงสัยว่าผู้ป่วยท่านนั้นน่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม

พวกเราก็จะแนะนำให้เขาไปตรวจละเอียดเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล

ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะเป็นแค่ผู้เสื่อมสมรรถภาพรับรู้ในระดับที่ไม่รุนแรง

หรืออาจจะเป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมขั้นต้น

หลังจากนั้นพวกเราก็สามารถใช้เครื่องมืออื่นมาประเมินเชิงลึกต่อไป

นอกจากนี้ไต้หวันก็ได้พัฒนาBHTเครื่องมือตรวจสุขภาพสมอง


ต่อไปพวกเราจะอธิบายตารางวัดภาวะเปราะบาง

เพราะในสังคมมีผู้สูงอายุจำนวนมาก

กลุ่มผู้สูงอายุที่จะไปก่อนก็คือกลุ่มที่มีภาวะเปราะบาง

บางครั้งภาวะเปราะบางอาจจะเกิดขึ้นเพราะปัจจัยทางชีววิทยา โรคภัยไข้เจ็บ

หรือปัจจัยทางโภชนาการและปัจจัยอื่นๆ

ปัจจัยทั้งหมดข้างต้นอาจจะนำไปสู่ภาวะเปราะบาง โรคสมองเสื่อม โรคหัวใจหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ

ต่อไปดิฉันจะบรรยายKihon Checklistคร่าวๆให้ฟังค่ะ


ผู้ป่วยที่ใช้บ่อยไม่เพียงแค่ผู้ป่วยที่พวกเราดูแลอยู่หรือผู้ป่วยที่ต้องดูแลระยะยาวในภายหลัง

พวกเราใช้คะแนนตารางCDRนี้

ไปประกอบคำอธิบายอาการผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ดูแล

ซึ่งดิฉันจะอธิบายให้ฟังค่ะ

พวกเรามาดูAD8กันก่อนนะคะ

AD8เป็นเครื่องมือทดสอบผู้ป่วย

ที่น่าจะมีความเสี่ยงสูงในชุมชน

เครื่องมือจะช่วยทำให้เข้าใจสมรรถภาพการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยหรือของคนๆนั้น

ว่าเขาได้เสียความสนใจในชีวิตประจำวันไปหรือเปล่า


ในชีวิตประจำวันพวกเราอาจจะเห็น

ว่าเขามีอะไรที่ไม่เหมือนเดิม

เช่น มีของบางอย่าง มีเครื่องมือบางอย่างที่เขาใช้บ่อย แต่ตอนนี้ไม่ใช้แล้ว

หรือเขาลืมเรื่องที่เกิดขึ้นช่วงนี้ง่าย

ไม่สามารถจัดการเรื่องราวที่ซับซ้อนได้อีกแล้ว อย่างเช่น เรื่องการเงิน

หรืออาจจะโดนหลอกเงินไป

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวชี้ความเสี่ยงสูง

ถ้าหลังการประเมินพวกเราพบว่า

ในช่วงหลายปีนี้ผู้ป่วยมีความเปลี่ยนแปลง

แต้มสะสมเกินกว่าสองแต้มขึ้นไป

พวกเราก็จะกังวลว่าเขาจะเป็นโรคสมองเสื่อมขั้นต้น

และแนะนำให้เขาไปประเมินอย่างเป็นทางการที่โรงพยาบาลอีกครั้ง


อันต่อไปที่จะแนะนำให้ทุกคนฟังก็คือการตรวจสอบสมองที่ไต้หวันกำลังผลักดันอยู่

และเครื่องมือตรวจสอบDSSที่ประเทศไทยใช้อยู่

ในส่วนของการตรวจสอบสุขภาพสมอง

แพทย์ที่รักษาหรือเจ้าหน้าดูแลจะเป็นผู้รวบรวมข้อมูล เพื่อเอามาใช้ตรวจสอบ

ที่ประเทศไทยก็ได้พัฒนาเครื่องมือที่คล้ายๆกัน

ใช้กับPrimary careเหมือนกัน

ต่อไปมาดูส่วนการตรวจสุขภาพสมองกัน

การตรวจสุขภาพสมองจะเริ่มจากการประเมินปัจจัยความเสี่ยงก่อน

อย่างเช่น ความจำของเขาถดถอยลงหรือไม่

ผ่านการสังเกตของคนในครอบครัวหรือคนรอบตัว

ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องให้คนช่วยเหลือหรือช่วยดูแลเรื่องการเงินแล้วล่ะก็

พวกเราก็จะแนะนำให้ไปตรวจประเมินอย่างละเอียดอีกครั้ง


นอกจากนี้ ถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยความเสี่ยงด้านอายุหรือปัจจัยความเสี่ยงอื่นๆ

เช่น เคยมีประวัติโรคหลอดเลือดในสมอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

คะแนนเกิน8แต้มขึ้นไปแล้วล่ะก็

พวกเราก็จะแนะนำให้ทำประเมินตรวจสอบการรับรู้ทางด้านขวามือ

ส่วนที่ทดสอบคือการกำหนดทิศทาง ความจำระยะสั้น และความจำนึกทวนจำ

ถ้าผลการประเมินได้ต่ำกว่า10แต้ม

พวกเราก็จะกังวลว่าสมรรถภาพการรับรู้ของผู้ป่วยได้ถดถอยลงแล้ว

และแนะนำให้เขาไปประเมินอย่างเป็นทางการที่โรงพยาบาลอีกครั้ง

นอกจากนี้ ที่ประเทศไทย

ได้พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบโรคสมองเสื่อมที่ทั้งสวยและมีขนาดเล็กออกมา

เครื่องมือจะตรวจสอบการเรียนรู้คำศัพท์ การกำหนดทิศทาง และความลื่นไหล

ในการนึกชื่อผลไม้ภายในหนึ่งนาที

ความอ่อนไหวและความพิเศษของเครื่องมือนี้ไม่เลวเลยทีเดียว

เพราะฉะนั้นโดยรวมแล้วทั้งสามเครื่องมือก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย


จุดเด่นของทั้งสามเครื่องมือคือใช้เวลาสั้นมาก

มีระดับความอ่อนไหวและความพิเศษที่แตกต่างกันไป ซึ่งไม่เลวเลยทีเดียว

ตอนที่พวกเราไปใช้เครื่องมือในชุมชน

ก็สามารถประเมินได้ว่ากลุ่มคนที่ได้รับการตรวจสอบ

เหมาะกับเครื่องมืออะไร

ก็สามารถเอามาใช้ได้หมด

แล้วก็ต้องระวังว่าทุกเครื่องมือมีขีดจำกัดของมัน

อย่างเช่น AD8 ต้องให้คนที่เคยผ่านการฝึกมาใช้

ถึงจะสามารถประเมินได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ส่วนBHTถ้าใช้กับการประเมินโรคสมองเสื่อมขั้นต้น หรือประเมินบุคคลธรรมดา

การแบ่งระดับของมันก็ไม่ได้ชัดเจนมากขนาดนั้น


เครื่องมือตรวจสอบอีกอันคือ

MMSEที่โรงพยาบาลใช้ประเมินผู้ป่วยอย่างเป็นทางการ

สิ่งที่MMSEประเมินก็คือ

ความสามารถการกำหนดเวลา ความสามารถการกำหนดทิศทาง การมีสมาธิจดจ่อ ความสามารถในการคำนวนและความทรงจำระยะสั้น

รวมถึงตรวจสอบความสามารถทางภาษาแบบง่ายๆด้วย

เครื่องมือตัวนี้เป็นเครื่องมือรุ่นเก่าหน่อย

จนปี2001 บริษัทตรวจสอบเครื่องมือPARถึงจะจดสิทธิบัตรเครื่องมือนี้

ดังนั้นตอนนี้ถ้าจะซื้อ หรือจะใช้ก็ต้องซื้อลิขสิทธิ์ก่อน

ไม่เหมือนแต่ก่อนที่สามารถแปลเป็นรูปแบบของประเทศตัวเองแล้วใช้งานได้เลย

ดังนั้นเวลาใช้ต้องระวังในจุดนี้ด้วย


นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือตรวจสอบพิเศษสำหรับโรคสมองเสื่อมขั้นต้น เรียกว่าMoCA

เครื่องมือนี้จะประเมินถึงสมรรถภาพการตรวจสอบ

รวมถึงสมรรถภาพในการจัดการ การตั้งชื่อ สมรรถภาพทางภาษา

แล้วยังประเมินสมรรถภาพในการจำ การมีสมาธิจดจ่อ ภาษา การคิดเชิงนามธรรม ความทรงจำนึกทวนจำและการกำหนดทิศทาง

เครื่องมือนี้จะใช้ประเมินสมรรถภาพการรับรู้ซึ่งเสื่อมลงในระยะขั้นต้นหรือโรคสมองเสื่อมขั้นต้น

สองโรคนี้มีอาการไม่เหมือนกัน

สมรรถภาพการรับรู้เสื่อมขั้นต้นก็คือ

มีสมรรถภาพรับรู้บางอย่างในชีวิตประจำวันถดถอยไป

แต่เพียงได้รับการซ่อมแซมชดเชยเล็กน้อย

ก็จะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่นต่อไป

แต่ถ้าเป็นโรคสมองเสื่อมขั้นต้นหรือขั้นแรก

อาการอาจจะกระทบถึงชีวิตประจำวันแล้ว

ดังนั้นเครื่องมือMoCAนี้

เหมาะกับการประเมินว่าเป็นMCIหรือไม่


ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมืออะไร

พวกเราก็ต้องไปทำความเข้าใจก่อนว่า

ผู้ป่วยมีอาการสมองเสื่อมระดับไหนแล้ว

ต่อไปดิฉันจะแนะนำCDR

เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือRating Scaleที่หลายประเทศใช้กัน

เป็นInterview Saleแบบกึ่งโครงสร้าง

สามารถประเมินเสร็จภายในหนึ่งชั่วโมง

เครื่องมือนี้จะทำให้พวกเราเข้าใจสมรรถภาพการรับรู้ของผู้ป่วยในหลากหลายด้าน

ได้แก่ ความทรงจำ การกำหนดทิศทาง ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา

แล้วยังประเมินปัญหาในระดับชุมชนและในชีวิตประจำวัน

รวมถึงด้านการดูแลส่วนบุคคลด้วย


สิ่งที่พิเศษในRating Scaleก็คือ

เป็นการเปรียบเทียบสมรรถภาพระหว่างตัวเองกับตัวเอง

ไม่ใช่การเปรียบเทียบระหว่างตัวเองกับคนอื่น

จุดนี้เป็นจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

เครื่องมือนี้ให้ความสำคัญกับสมรรถภาพในชีวิตประจำวันอย่างมาก

และยังให้ความสำคัญกับสภาวะอารมณ์และการปรับตัวในชุมชนด้วย

เพราะฉะนั้นเครื่องมือนี้สามารถใช้เขียนคำอธิบายผู้ป่วยได้

พวกเรามาดูRating Scaleของเครื่องมือนี้กัน

ว่าแบ่งเป็นระดับชั้นอะไรบ้าง


นอกจากระดับชั้นการรับรู้แล้ว

เครื่องมือนี้ยังใส่คำอธิบายในการแบ่งระดับด้วย

ถ้าผู้ป่วยหรือคนคนหนึ่ง

มีปัญหาด้านการคิดพิจารณาหรือความจำ

แล้วมีผลกระทบต่อการลำดับและเชื่อมเวลาในชีวิตประจำวัน

หรือความสามารถในการแก้ปัญหาแย่ หรือแม้กระทั่งเรื่องบางอย่างในชีวิตประจำวัน

อย่างเช่นออกไปซื้อของข้างนอก ฝากเงินถอนเงิน

หรือการจัดการสิ่งต่างๆภายในบ้าน ผู้ป่วยทำได้ไม่ค่อยดี

พวกเราก็จะประเมินเจาะลึกไปที่สมรรถภาพส่วนที่ถดถอยของเขา


Rating Scaleอันนี้

ทำให้แพทย์เจ้าของไข้และผู้พยาบาลหรือคนจากองค์กรดูแล

สามารถเข้าใจขอบเขตระดับสมรรถภาพของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วว่าอยู่ระดับไหน

เป็นการประเมินกว้างๆแบบหนึ่ง

การประเมินนี้มีเว็บไซต์ด้วย

เป็นเว็บRating Scale CenterของCDRที่เดิมทีออกแบบพัฒนาอยู่

ทางบริษัทพัฒนาเครื่องมือช่วยทำเว็บไซต์รวมคะแนนให้

ทำให้พวกเราสามารถเอาแต้มที่ได้จากการประเมินกรอกเข้าไป

แล้วเว็บไซต์จะบอกพวกเราว่าแต้มCDRโดยรวมได้เท่าไร

ทุกคนสามารถเข้าไปใช้ได้นะคะ


ต่อไปดิฉันจะแนะนำปัญหาทางอารมณ์

ที่เกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคสมองเสื่อม

พวกเราก็จะใช้้เกณฑ์วัดซึมเศร้าของGDS

ตอนนี้ที่พวกเราเห็นคือเวอร์ชั่นคำถาม15ข้อ

เกณฑ์วัดสามารถช่วยพวกเราเข้าใจภาวะอารมณ์ของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว

ว่าอารมณ์หดหู่หรือว่าซึมเศร้า หรือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ถ้าทุกคนรู้สึกว่าใช้รูปแบบคำถาม15ข้อแล้วราบรื่นดี

ก็สามารถทำรูปแบบคำถาม30ข้อได้

ถ้าในระดับชุมชน ขอแนะนำให้ใช้แบบ15คำถามก็โอเคแล้ว

นอกจากนี้ขอแนะนำตารางวัดภาวะเปราะบางของพวกเรา

ทำไมต้องพูดถึงตารางวัดภาวะเปราะบาง

เพราะตอนนี้พวกเรามีผู้สูงอายุจำนวนมาก

ระหว่างที่พวกเขาสูงวัยมากขึ้นเรื่อยๆ

อาจจะเกิดภาวะกำลังกายถดถอย หรือมีโรคติดตัวเยอะเกินไป

ก็อาจจะนำไปสู่ปัญหาสมองเสื่อมได้

ดังนั้นเราจึงแนะนำตารางวัดภาวะเปราะบางให้ทุกคนฟังค่ะ


ในระดับชุมชนถ้าทำได้ละก็

ให้ไปสำรวจก่อนแล้วค่อยไปให้ความช่วยเหลือ

จะช่วยลดแนวโน้มการเป็นโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชนได้

ถ้าผู้สูงอายุท่านนี้เดิมทีก็เฉื่อยชาอยู่แล้ว

หรือยืนเองไม่ได้ถ้าไม่มีตัวช่วย หรือขึ้นบันไดยาก

แม้แต่ออกไปเดินยังไม่ค่อยไหว

หรือมีโรคติดตัวมากกว่า5โรคขึ้นไป

หรือมีภาวะอ่อนแรงในระยะเวลาสั้นๆ น้ำหนักตัวลด

ถ้าได้3แต้มจาก5รายการนี้

พวกเราก็จะกังวลว่าผู้สูงอายุท่านนั้นอาจจะเข้าสู่ภาวะเปราะบาง

หวังว่าเขาจะได้รับความช่วยเหลือในเร็ววัน

แล้วรักษาสภาพร่างกายเขาให้ดีขึ้น

และไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพของสมอง


อีกตารางวัดหนึ่งที่ต้องแนะนำให้ทุกคนฟัง

ก็คือตารางวัดKihonที่เกี่ยวกับภาวะเปราะบาง

ขอบเขตประเมินสมบูรณ์และรอบด้าน

ประเมินทั้งสมรรถภาพในชีวิตประจำวัน

ประเมินสมรรถภาพเชิงกายภาพ

ประเมินโภชนาการ ประเมินกิจกรรมในชุมชน

ประเมินการกินอาหาร ประเมินภาวะการรับรู้และประเมินด้านอารมณ์ด้วย

ตารางวัดนี้สามารถช่วยให้พวกเราเข้าใจปัญหาในเชิงระดับชั้นได้

ทำให้พวกเราสามารถให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว

ช่วยป้องกันผู้สูงอายุเข้าสู่ภาวะเปราะบางและโรคสมองเสื่อมได้

วันนี้ดิฉันขอจบการบรรยายแต่เพียงเท่านี้

ขอบคุณค่ะ